söndag 17 september 2017

ในหลวงภูมิพล กับ พรบ.นิรโทษกรรมคดี 6 ตุลา : หลักฐานประวัติศาสตร

Image may contain: text

ในหลวงภูมิพล กับ พรบ.นิรโทษกรรมคดี 6 ตุลา : หลักฐานประวัติศาสตร์

ในหลวงภูมิพล กับ พรบ.นิรโทษกรรมคดี 6 ตุลา : หลักฐานประวัติศาสตร์
ผมได้กล่าวไว้ในกระทู้ก่อน (https://goo.gl/DYBsqe) ว่า ความจริง ในหลวงภูมิพล ไม่ได้ทรงแฮ้ปปี้กับการนิรโทษกรรมคดี 6 ตุลา (ครบ 39 ปีเมื่อวานนี้) เพราะทรงต้องการให้ศาลตัดสินผิด แล้วพระราชทานอภัยโทษมากกว่า (ซึ่งนี่คือ "แพ็ตเทิร์น" หรือแบบฉบับของการจัดการคดี 112 ของวังในภายหลัง คือยังไงก็ต้องการให้มีการตัดสินผิดไว้ก่อน แล้วต้องขออภัยโทษทีหลัง ไม่ใช่ให้นิรโทษกรรมซึ่งจะไม่มีความผิดเลย) แต่เกรียงศักดิ์เอง ยืนยันจะนิรโทษกรรม เพื่อให้คดีจบทันที แล้วผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรมผ่านสภาเอง (กรณีนี้ ผมมองว่าสะท้อนลักษณะ "ดุลย์อำนาจ" ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกองทัพในช่วงนั้น ที่ยังมีลักษณะอิสระต่อกันอย่างสำคัญ ระดับหนึ่ง แต่หลังทศวรรษ 2530 ได้เปลี่ยนไปโดยพื้นฐาน ซึ่งผมเคยนำเสนอในการสัมมนาหลายครั้ง)
เรื่องนี้ ผมเพิ่งมารู้-เห็นหลักฐานเอกสารเบื้องหลัง ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง
ภาพประกอบกระทู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานเอกสาร (ยังมีเอกสารอื่นอีก)
ลายมือของคุณภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการในขณะนั้น เล่าถึงความเห็นของในหลวงต่อการนิรโทษกรรมคดี 6 ตุลา (ลงวันที่ 6 กันยายน 2521 คือเพียง 10 วันก่อนเกรียงศักดิ์ผลัก พรบ.นิรโทษกรรมออกมา) ผมคัดมาให้อ่านง่ายๆข้างล่างนี้
ขอให้สังเกตว่า ทรงกังวลว่าการดำเนินคดีต่อไป พยานที่มาให้การจะ "เขย่าการเมือง" ทรงต้องการให้ "ยุติการสืบพยาน และตัดสินลงโทษผู้ผิดเสียได้โดยเร็ว"
ผมคิดว่าคงทรงวิตกว่า พยานจะพูดถึงการระดมกำลังติดอาวุธมาฆ่าหฤโหดนักศึกษาประชาชนในเช้าวันที่ 6 แล้วมีโอกาสกระทบมาถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย เพราะกำลังติดอาวุธเหล่านั้นมี "คอนเน็คชั่น" กับสถาบันฯรู้กันทั่วไป เช่น พลร่ม ตชด. ลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ (ผมเคยโพสต์ให้ดูไปแล้วถึงการที่ในหลวงกังวลเรื่องภาพลักษณ์การฆ่าโหด 6 ตุลาที่ออกไปต่างประเทศมาก จนให้ราชเลขานุการไปขอคำปรึกษาแนะนำจากทูตสหรัฐ https://goo.gl/3JgvBA)
....................
กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละออองธุลีพระบาทแล้ว
มีพระราชกระแสว่า เรื่องคดี ๖ ตุลาคมนี้ ได้ทรงปรารภ นรม. [นายกรัฐมนตรี] ตั้งแต่วาระที่เข้าเฝ้าฯรับตำแหน่งที่ภูพานราชนิเวศน์ [พฤศจิกายน 2520] แล้ว ว่าควรจะได้รีบหาทางตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดเสียโดยเร็ว แล้วจัดการให้ผู้รับผิดรีบขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานอภัยโทษ เพื่อให้เรื่องยุติลงโดยเร็ว ไม่กระทบกระเทือนความมั่นคงของบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะทรงคาดการณ์ไว้แล้วว่า ถ้าฟ้องศาลสืบพยานหลายๆปาก คดีจะยืดเยื้อเป็นปี และอาจผูกพันเป็นภาระถึงรัฐบาลชุดอื่นๆต่อไปอีก ฝ่ายตรงข้ามก็จะใช้ศาลเป็นเวทีแสดงบทบาทเขย่าการเมือง เป็นผลร้ายถึงความมั่นคงของบ้านเมืองเรื่อยๆไป พยานทั้งฝ่ายจำเลย ฝ่ายโจทก์ จะเป็นตัวเขย่าที่สำคัญ เพราะฉะนั้น เวลานี้ จึงมีพระราชดำริว่า ถ้ามีวิธีการใดที่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมาย ที่จะยุติการสืบพยาน และตัดสินลงโทษผู้ผิดเสียได้โดยเร็ว จะเป็นทางดีที่สุด การจะออก พรบ.นิรโทษกรรมนั้น ทรงเห็นว่า จะมีผลสะท้อนที่ไม่ดีในทางการเมือง
ภาวาส บุนนาค
๖ กันยา ๒๑

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar