fredag 10 mars 2017

รัฐบาลคณะราษฎร ยกที่ดินตำบลปทุมวัน ให้เป็นของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๘๒)


Somsak Jeamteerasakul

รัฐบาลคณะราษฎร ยกที่ดินตำบลปทุมวัน ให้เป็นของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๘๒)

รัฐบาลคณะราษฎร (จอมพล ป. นายก, ปรีดี รมต.คลัง) ยกที่ดินตำบลปทุมวัน ให้เป็นของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๔๘๒)
มี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" โพสต์กึ่งแซวๆว่า จุฬาฯฉลอง ๑๐๐ ปี ควรขอบคุณจอมพล ป. เพราะรัฐบาลจอมพล ป. เป็นคนโอนที่ดินตำบลปทุมวัน ซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจุฬา ก่อนหน้านั้น จุฬาเพียงแต่เช่าที่ดังกล่าวอยู่ (ดู พรบ.โอนที่ดินดังกล่าว ที่นี่ https://goo.gl/xqyQep) - ความจริงตอนนั้น "จอมพล ป." ยังเป็น "พลตรี หลวงพิบูลสงคราม" ในกระทู้นี้ ผมเองก็ใช้คำว่า "จอมพล ป." โดยตลอด เพราะคนรู้จักในชื่อนี้มากกว่า
ในภาพประกอบกระทู้นี้ ผมขอนำเอกสารฉบับหนึ่งมาให้ดู เป็นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๕๕/๒๔๘๒ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๘๒ ที่คณะรัฐมนตรีของจอมพล ป. มีมติให้ออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินดังกล่าว
ข้อเสนอเรื่องโอนที่ดินดังกล่าว กระทรวงการคลังเป็นคนทำเรื่องเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
ควรอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงการคลัง (มีฐานะเทียบเท่ากอง สังกัดกรมคลัง) มีหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐ ดังนั้น รัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชน(โดยกระทรวงการคลัง)จึงเป็นคนดูแล เพื่อให้อยู่ภายใต้การตรวจสอบของสาธารณะได้ ภายหลังรัฐบาลนิยมเจ้าของพรรคประชาธิปัตย์ (ที่ขึ้นมาจากการรัฐประหาร ๒๔๙๐) ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ใหม่ (๒๔๙๑) โอนอำนาจในการควบคุมทรัพย์สินของรัฐส่วนนี้ ไปให้พระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง มาจนทุกวันนี้ - ตอนนี้คืออยู่ในมือกษัตริย์ใหม่ (ตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินฯ" ตาม พรบ.ใหม่ที่ยังให้ รมต.คลัง เป็นโดยตำแหน่ง ไม่มีความหมายในการควบคุมดูแลแต่อย่างใดทั้งสิ้น ทุกวันนี้ รัฐไทยยกเรื่องนี้มาโกหกชาวโลกเท่านั้น ว่า ทรัพย์สินฯ "กระทรวงการคลังดูแล" ซึ่งเป็นการโกหกล้วนๆ - สมัยรัฐบาลคณะราษฎร กระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลจริง ดังกรณีการโอนที่ดินจุฬานี้)
ดังจะเห็นได้จากเอกสาร เดิมที่ดินจุฬา เป็นที่ที่รัชกาลที่ ๕ สั่งให้มีไว้เช่า เพื่อเอาเงิน "เลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์" (คือเลี้ยงดูพวกคนในวัง บรรดาเมียน้อยและข้ารับใช้ทั้งหลายนั่นแหละ) รายได้จากค่าเช่าที่เก็บจากจุฬาก่อนหน้านั้น ก็คือเพื่อการณ์นี้

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar