söndag 17 juli 2016

บทเรียนจากกบฏสีเขียวในตุรกี กับกบฏ คสช ตอนที่ 2 (17 ก.ค. 2559)

โดย จักรภพ เพ็ญแข
บทเรียนจากกบฏสีเขียวในตุรกี ตอนที่ 2 (17 ก.ค. 2559)

ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของ "กบฏเสื้อเขียว" ซึ่งผมแปลความหมายออกมาได้ว่า ทหารผู้ทรยศต่อประชาชน ในตุรกี หลังจากที่พยายามก่อรัฐประหารได้เพียง 24 ชั่วโมงนั้น เป็นกำลังใจอย่างยิ่งของมวลชนที่ถูกทหารของเราเอง เอาอาวุธจากเงินภาษีของเราเอง มาข่มขู่บังคับเราทั้งหลายให้อยู่แทบเท้าของเขา ด้วยท่าทีของกุ๊ยอันธพาล แต่สาระที่สำคัญพอๆ กับกำลังใจ คือบทเรียนและความรู้ที่เราสามารถนำเรื่องนี้มาใช้ได้ในอนาคตอันใกล้
 ผมจึงขอเล่าในตอนที่ 2 นี้เพื่อต่อเติมว่า เราจะเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างไรจากสถานการณ์ตุรกีรอบนี้:

1. ในห้วงเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงของการก่อกบฏ มีคนตุรกีตายถึง 181 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารที่ก่อกบฏเองถึง 104 นาย แปลว่าประชาชนจริงๆ ต้องสูญเสียชีวิตไปถึง 77 คน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในจำนวนทหารที่ตาย 104 คนนี้ ตายจากน้ำมือของกองกำลังฝ่ายรัฐบาลเพียง 48 นาย แล้วอีก 56 คนถูกใครฆ่าเล่า? ผมคุยกับเพื่อนข้าราชการ นักการเมือง และสื่อมวลชนตุรกีแล้วจึงประมวลได้ว่า ทหาร 56 คนตายจากน้ำมือของฝูงชนที่โกรธแค้นอย่างหนักที่ทหารหยิบมือเดียวมาทำการก้าว ร้าวต่อระบอบประชาธิปไตยของตุรกี ประชาชนเหล่านี้จึงแย่งเอาอาวุธของทหารเองมาต่อสู้กับทหารด้วยจำนวนคนที่ มากกว่า มีข่าวด้วยว่าประชาชนบางส่วนเอาอาวุธปืนสั้นส่วนตัวออกมาเผชิญหน้ากับทหาร ที่พวกเขาถือว่าทรยศต่อมวลชนด้วย ท้ายที่สุดทหารที่หมดใจก็วิ่งหนีเอาชีวิตรอด คนที่รอดก็ถูกจับทั้งหมด ขณะนี้ยอดผู้ต้องขังสูงที่เป็นทหารกบฏล้วนๆ มากกว่า 2,800 คนแล้ว และยังไม่รู้ว่าชะตากรรมต่อไปจะเป็นอย่างไร
มวลชนตุรกีคิดว่า ทหารที่เข้าร่วมก่อรัฐประหาร ไม่ว่ายศเล็กหรือยศใหญ่ ล้วนมีความผิดทั้งนั้น เขาไม่ยอมรับคำกล่าวอ้างว่า "นายสั่งมา" หรือ "ทหารมีวินัยและไม่สามารถเลี่ยงคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้" เพราะเขาถือว่า ทหารแต่ละคนย่อมมีสมอง มีหัวใจ และมีพ่อแม่พี่น้องเหมือนคนอื่นๆ ย่อมคิดว่าได้เองว่า คำสั่งให้ฆ่าประชาชนด้วยกันนั้น เป็นคำสั่งที่ผิดและสั่งโดยคนเลว หากยอมทำตาม ก็ถือว่าเชื่อฟังโจรและมีความผิดฐานเป็นลูกน้องโจร หากตัวเองเลี่ยงคำสั่งโจรไม่ได้ก็ต้องหนีทหาร เหมือนทหารในตุรกีเมื่อคืนนี้ เพื่อไม่ต้องทำผิด แต่ถ้าไม่หนี ทนยืนอย่างสัตว์ให้เขาลงปฏักและยอมทำงานรับใช้โจรอยู่อย่างนั้น ก็สมควรจะถูกลงโทษทั้งทางกฎหมายและจากมวลชน เหมือนทหารกบฏที่ถูกสังหารและถูกกระทำการเหยียดหยามหลายอย่าง เช่น ถูกเอาอุจจาระมาป้ายหัวที่สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ตุรกีกันทั้งกองร้อย บังคับให้ทหารถอดหมวกเหล็กเพื่อให้เข้าใจความรู้สึกมวลชนที่กลัวถูกยิงหัว ช่วยกันยึดอาวุธของทหารเอาไว้เลย เป็นต้น เราคนไทยต่างไม่ชอบเรื่องความรุนแรง แต่เหตุการณ์ในตุรกีควรทำให้เราคิดว่า เมื่อถึงเวลาแล้ว เราจะรับมืออย่างไรกับผู้ที่เข้ามารุกรานและละเมิดสิทธิของเราอย่างรุนแรง ก่อน เราไม่มีสิทธิที่จะป้องกันชีวิตของเราและคนที่เรารักหรอกหรือ?

2. ได้เล่าในตอนที่ 1 ไปบ้างแล้วว่า คณะผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของตุรกี เขาแบ่งบทบาทรับมือกับคณะกบฏเมื่อคืนนี้ได้ดีเหลือเกิน
ประธานาธิบดีเออร์โดกันทำหน้าที่ซ่อนตัวในที่ลับและออกมาประกาศมาตรการต่อ ต้านต่างๆ อยู่เป็นครั้งคราว จนควบคุมสถานการณ์ได้เกิน 80% จึงออกมาปรากฎตัว ในขณะที่นายกรัฐมนตรียิลดิรีมวางงานข้ามช็อตไปสู่อนาคต ด้วยการประกาศว่า ผู้ร่วมก่อการในครั้งนี้ต้อง "ได้รับผลอย่างหนัก" (".... to pay heavy price ...") และเอาจำนวนผู้เสียชีวิตที่ประกาศอยู่ตลอดมาเป็นมาเป็นฐานความผิดของผู้ก่อ การ ซึ่งทำให้กระบวนการยุติธรรมเพื่อเอาผิดกับกบฏเหล่านี้เริ่มต้นทำงานแล้วใน ทันที
การต่อสู้ทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพทุกแห่ง เขาต้องตีเหล็กเมื่อร้อนทั้งนั้น การปล่อยให้เวลาผ่านไปเป็นแรมเดือนแรมปีจึงมาเอาผิดกัน โดยอาจหวังให้ผู้คนลืมอะไรๆ ไปเสียบ้างนั้น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกนึกคิด กระแสสังคม และพยานหลักฐานแทบทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด ท้ายที่สุดก็ใช้วิธีลืมกันไปแบบมักง่าย ทำให้ไม่มีอะไรเหลือไว้ต่อสู้ในทางประวัติศาสตร์และสานต่อไว้ในกระบวนการ ยุติธรรม เรื่องนี้ขอให้ดูตัวอย่างตุรกีเอาไว้ให้มากนะครับ

3. ไม่ทหารเท่านั้นที่โดน ผู้พิพากษาอีก 2,745 คนก็ถูกปลดกลางอากาศในคราวเดียวกัน ทำให้เราควรมองอย่างเอาใจใส่ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นที่ตุรกี
ความจริงทั้ง 2,745 คนก็มิใช่ผู้พิพากษาทั้งหมด มีผู้พิพากษาศาลฎีกา 188 คนและผู้พิพากษาศาลรองลงมาอีกในราว 800 คน ที่เหลือเป็นอัยการ ผมรีบถามพรรคพวกในตุรกีว่าเกิดอะไรขึ้น เขากลับย้อนกลับอย่างขำๆ เพราะเป็นเพื่อนกันว่า อยู่เมืองไทยยังต้องมาถามเขาในเรื่องนี้อีกหรือ ก็โจรในชุดครุยเหล่านึ้นี่เอง ที่คอยรับใช้เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายให้กับเผด็จการ ในแบบเนติบริกร หาช่องกฎหมายให้เขาเหาะขึ้นไปอยู่เหนือหัวของประชาชนได้อย่างถูกกฎหมาย เมื่อจะกวาดล้างทั้งที ทำไมไม่เอาหมดทั้งรังปลวกเลยเล่า? ตุรกีเที่ยวนี่จึงน่าดูชม นอกจากทหารแล้วยังมีผู้พิพากษา องค์กรอิสระ นักวิชาการ ดารานักแสดงที่รับเงินขึ้นไปช่วยโฆษณาชวนเชื่อหลอกประชาชนให้กับทหารอยู่บน เวที และยังมีคนต่างๆ อีกมากมายหลายวงการ เพราะเขาถือกันว่าคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นซ่องโจร ต่อให้คนกวาดพื้นในซ่องโจรนั้นก็ต้องถือว่ามีความผิดด้วย
มันส์ไหมล่ะครับพระเดชพระคุณ?

จักรภพ เพ็ญแข
17 ก.ค. 2559

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar