lördag 3 oktober 2015

ผู้นำสารขันธ์แลนด์ประยุทธ์หัวหน้า "คสช.ม.44" ..พูดที่ UN บอกว่าเคารพสิทธิมนุษยชน.. กลับประเทศไทยไม่ถึงสองวัน เผด็จการออกลายทำการล่วงละเมิดสิทธินักเขียนการ์ตูนเสียแล้ว ...

khaosod
ข่าวสดออนไลน์
คสช.เรียกเซีย ไทยรัฐ ปรับทัศนคติ เจ้าตัวพร้อมเข้าพบที่บก.ทบ. 4 ต.ค.นี้

คลิกอ่าน-คสช.เรียกเซีย ไทยรัฐ ปรับทัศนคติ เจ้าตัวพร้อมเข้าพบที่บก.ทบ. 4 ต.ค.นี้


(หลักฐาน)-ประยุทธ์ประกาศกลางที่ประชุมยูเอ็นไทยคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (ทั่นผู้นำลืมไปว่าฝรั่งกินขนมปังไม่ได้กินหญ้า)


-http://thaienews.blogspot.com/2015/10/blog-post_26.html
วันศุกร์, ตุลาคม 02, 2558


12087915_1700944370126596_3401063590638754189_o.jpg
ที่มา
บีบีซีไทย - BBC Thai


ประยุทธ์ประกาศกลางที่ประชุมยูเอ็นไทยคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประจำปี 2558 ที่นครนิวยอร์ก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้กล่าวว่ารัฐบาลของเขาได้ให้ความสำคัญกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งยังภาคภูมิใจกับการที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกและเคยเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อหลายปีก่อน
“ในด้านสิทธิมนุษยชน ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด และได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างปี ค.ศ. 2010-2013 ( พ.ศ. 2553-2556)โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีดังกล่าวในช่วงปี ค.ศ. 2010-2011 (พ.ศ. 2553-2554) ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงประเทศและกลุ่มประเท%A6ี่มีความเห็นที่แตกต่าง โดยเน้นการไม่เลือกปฏิบัติ การเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” พลเอกประยุทธ์ กล่าว
พลเอกประยุทธ์ ซึ่งเป็นประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้พาคณะทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว รัฐบาลของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาประเทศถึงแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน
เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ บัน คี มูน ได้แสดงความกังวลระหว่างการหารือทวิภาคีกับพลเอกประยุทธ์ก่อนหน้านี้ว่า พื้นที่ประชาธิปไตยของไทยกำลังลดน้อยลง อีกทั้งรัฐบาลไทยมีความจำเป็นที่ต้องรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพแห่งการแสดงออกและการชุมนุม
พลเอกประยุทธ์ กล่าวในสุนทรพจน์ซึ่งแสดงเป็นภาษาไทยในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นการให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ทั้งการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างมีบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการเสริมความพยายามของภูมิภาค และของโลก”
นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ได้กล่าวถึงปัญหาการฟื้นฟูประชาธิปไตยตรง ๆ เพียงแต่บอกว่ารัฐบาลของเขามีเป้าหมายในการปฏิรูปเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน “สิ่งที่จะทำให้ไทยเข้มแข็งขึ้น และสามารถบรรลุเป้าหมายมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ก็คือ การปฏิรูป อย่างครบวงจรเพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง อาทิ การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน การสร้างความเข้าใจและปรองดองสมานฉันท์ และการจัดระเบียบทางสังคม”
“เมื่อกาลเวลาผ่านไป วันนี้จะกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของอนาคต สิ่งที่เกิดขึ้นในวันข้างหน้าจะเป็นตัวบ่งบอกที่เที่ยงธรรมที่สุดว่า “วันนี้” เราได้ทำสิ่งใดลงไป และเพื่อสิ่งใด สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยและกับโลกของเราในวันข้างหน้า ในอีก 10 ปี 20 ปี จะเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า “วันนี้” เรากำลังทำเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของประเทศไทย และเพื่อให้ไทยเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสหประชาชาติ ในการสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าในอนาคตด้วยเช่นกัน”
ในการกล่าวสุนทรพจน์นั้นความตอนหนึ่งพลเอกประยุทธ์ได้ขอเสียงสนับสนุนให้ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกแบบไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในช่วงปี ค.ศ. 2017-2018 (พ.ศ. 2560-2561 “ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมสันติภาพ และ มีบทบาทในการร่วมมือแก้ไขปัญหาท้าทายของโลก ไทยจึงได้เสนอตัวเข้ารับการเลือกตั้งในฐานะสมาชิกไม่ถาวร คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพราะเชื่อมั่นว่า จะสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศสมาชิก ประเทศที่มีที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงฯ กับประเทศนอกคณะมนตรีฯ รวมถึงสะพานเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมและความแตกต่างทางความคิด โดยหวังว่าการมีบทบาทเป็น
สะพานเชื่อมโยงนี้ จะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจอันดี และความร่วมมือระหว่างนานาชาติ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติร่วมกัน”

ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการและมติเน้นย้ำสนับสนุนให้ไทยเป็นตัวแทนของกลุ่มอาเซียนลงชิงตำแหน่งว่างในคณะมนตรีความมั่นคง โดยมอบหมายให้คณะผู้แทนถาวรของไทยประสานงานกับผู้แทนถาวรของกลุ่มอาเซียนที่นิวยอร์กเพื่อการนั้นด้วย โดยทางสมาชิกกลุ่มอาเซียนจะช่วยไทยหาเสียงรับเลือกตั้งในตำแหน่งดังกล่าวอีกด้วย
นอกจากนี้พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีได้พบปะหารือทวิภาคีกับ ทีโอโดโร งือมา โอเบียง มันเกอ รองประธานาธิบดีอิควิทอเรียลกีนี ซึ่งเป็นประเทศชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีประชากรราว 750,000 คนเพื่อหาเสียงสนับสนุนการชิงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง#UN70 #UNGA
ooo

Screen%2BShot.png
http://www.eureporter.co/world/2015/09/ … ligations/
ท่านผู้นำที่ยิ่งใหญ่ภูมิใจประกาศว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เคารพสิทธิมนุษยชนแต่ก็กลับได้รับคำวิจารณ์จากเลขาธิการสหประชาชาติและบุคคลสำคัญอื่นๆของโลกในเรื่องการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทย



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar