torsdag 6 augusti 2015

ย้อนรอยประวัติเก่า เรื่องเก่าเล่าใหม่ ( ให้อนุชนรุ่นหลังได้อ่านศึกษา เพื่อถอดถอนบทเรียนในการเดินทางเพื่อปลดปล่อยตัวเองออกเป็นไทไม่เดินซ้ำรอยอดีต)




*สร้างเครือข่ายราชสำนักเพื่อบริหารจัดการรัฐ*
             






บท: ดารณี รวีโชติ
 

มื่ออำนาจของราชสำนักได้เริ่มตั้งมั่นในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แล้วราชสำนักก็ได้เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายรับเป็นฝ่ายรุกในทางการเมือง หรือเปลี่ยนจากด้านรองกลายเป็นด้านหลักของคู่ขัดแย้งทางการเมือง และนับแต่นั้นมาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
จึงมิใช่บทบาทในระบอบการ ปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอีกต่อไป หากแต่เป็นบทบาทในระบอบการปกครองใหม่ที่เรียกว่า “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่”


ราชสำนักได้แสดงบทบาททางการเมืองที่เป็นด้านหลักในการควบคุมกลไก
ของระบบการ เมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านกลไกต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นอย่างแนบเนียนที่เรียกว่า “เครือข่ายราชสำนัก” หรือเครือข่ายกษัตริย์(Network Monarchy) โดยมีคณะองคมนตรีเป็นศูนย์กลางในการบริหารเครือข่ายอำนาจด้วยวิธีการถ่าย


อำนาจเชิงสัญลักษณ์ของราชสำนักไปสู่บุคคลที่มีสถานภาพสูงทางสังคมการเมือง และรับใช้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาท โดยคำกล่าวแสดงเจตนาของบุคคลนั้นจะถูกสังคมตีความเป็นเสมือนความต้องการของ องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งบุคคลในลักษณะนี้สังคมได้เรียกขานด้วยถ้อยคำที่
สั้นกะทัดรัดและแสดงคุณลักษณะได้ครบถ้วนว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”ในช่วงระยะเวลา 5 ทศวรรษ เครือข่ายราชสำนักได้ขยายตัวครอบงำไปในทุกวงการของสังคมไทย นับตั้งแต่วงการทหาร ตำรวจข้าราชการ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน แม้กระทั่งขบวนการ NGO (องค์กรพัฒนาภาคเอกชน)


โดยทุกวงการจะมีแกนนำที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด ในฐานะเป็นคนไทยตัวอย่าง และหลายคนได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นกระบอก เสียงของเครือข่ายราชสำนักว่าเป็นนักคิดตามแนวพระราชดำริที่ประชาชนควรจะ


เชื่อฟังและถือเป็นแบบอย่าง เช่น พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์, นายแพทย์ประเวส วะสี, นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นต้น จนกระทั่งบุคคลเหล่านี้เป็นเสมือนหนึ่งเงาแห่งพระองค์ที่คนในสังคมจะติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ แต่ในด้านกลับกัน บุคคลเหล่านี้กลับกลายเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจทางสังคม
ที่คอยตำหนิติเตียนผู้ อื่นในสังคมนี้ โดยเฉพาะการตำหนิฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ลักษณะของบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลผู้สูงอายุ และมีลักษณะเกาะกลุ่มกันทางความคิด ในฐานะเป็นผู้หวังดีต่อบ้านเมืองจึงทำให้ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญที่ถูกขนานนามขึ้นนั้นเกิดภาพเชิงสัญลักษณ์เป็น “สถาบันผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”ของสังคมไทยการแสดงบทบาทของเครือข่ายราชสำนักในการโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลในรัชกาล ปัจจุบัน ซึ่งได้ตั้งมั่นมากว่า 5 ทศวรรษแล้วนี้ เป็นข้อมูลที่ดำมืดไม่อาจจะเปิดเผยได้ คนไทยจึงเห็นแต่เหตุการณ์การล่มสลายของรัฐบาลต่างๆ


ด้วยเหตุผลที่ค่อนข้างจะแปลกประหลาด โดยมองไม่เห็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่ราชสำนักเป็นตัวจักรสำคัญ ทำให้การเรียนรู้ทางการเมืองถูกจำกัดข้อมูลและทฤษฎีการวิเคราะห์ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของไทยจึงกลายเป็นผู้ด้อยปัญญาโดยถูกครอบงำทาง


วัฒนธรรมด้วยวาทะกรรมว่า “พระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง” และทั้งการคิดและการกล่าวถึงพระองค์เป็นสิ่งต้องห้ามทางกฎหมายและทาง วัฒนธรรม แต่แล้วทฤษฎีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ก็ได้ทำหน้าที่ของมัน กรณีวิกฤติการณ์การเมืองไทยเริ่มจากการโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตยที่ประชาชน
พึงพอใจและเห็นประโยชน์ของนโยบายที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมคือรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อ 19 กันยายน 2549 และขยายสู่การก่อจลาจลของกลุ่มพันธมิตรฯ ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งติดต่อกันอีก 2 รัฐบาลคือ รัฐบาลนายสมัคร และนายสมชาย อย่างไร้เหตุผลและติดตามมาด้วยการเปิดเผยข้อมูลลับของทักษิณ ที่เปิดโปงเครือข่ายราชสำนัก ได้แก่พลเอกเปรม, พลเอกสุรยุทธ องคมนตรี, ม.ล.ปีย์ มาลากุล ที่มีการร่วมประชุมลับกันเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ กับประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด    โดยเป็นผลจากพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่ส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (รายละเอียดดูภาคผนวกท้ายเล่ม)
เครือข่ายราชสำนักจึงเป็นตัวจักรสำคัญของการกำหนดทิศทางการเมืองไทย
คลิกอ่านต่อ-
Read More

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar