tisdag 19 maj 2015

ข่าวด่วน ค่าประกัน 30 ล้านบาท ? ไม่เคยเห็นที่ไหนในโลก แก็งค์ตบทรัพย์ของภูมิพล "ยัดเยียดข้อหา"อดีตนายกยิ่งลักษณ์ แล้วตบทรัพย์ ทั้งๆเธอไม่ได้ทำผิด หลักฐานความจริงยุคแก็งค์มาเฟียครองเมืองกฎหมายอยู่ในมือโจร . การขูดรีดทรัพย์ยัดเยียดข้อหาแล้วตบทรัพย์คือสันดานเดิมของแก็งค์ภูมิพล สันดานดิบของเหลือบศักดินาครอบครัวปีศาจภูมิพล ในอดีตก็ยัดเยียดข้อหายึดทรัยย์อดีตนายกทักษิณหกหมื่นกว่าล้านบาทให้เห็นมาแล้วยังไม่พอ ต้องหาเรื่องยึดทรัพย์ตระกูลชินวัตรให้หมดทั้ง จงปฎิเสธทุกข้อหาที่ถูกยัดเยียดให้...เป็นกำลังใจให้"เธอผู้ตกเป็นเชลย"ของแก็งค์ภูมิพล จงมีสติ ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ฉลาดนิ่งและใช้ปัญญา อย่าลืมว่าวันนี้ประชาชนไทยทั้งประเทศถูกโจรปล้นยึดอำนาจรัฐไป ทุกคนต้องช่วยเหลือตัวเองเดินเคียงข้างไปด้วยกัน ช่วยกันปลดปล่อยตัวเองและประเทศชาติออกเป็นไทจากแก็งค์เผด็จการภูมิพลให้ได้..ตามสมรรถภาพของแต่ละคน...ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมืออย่านิ่งดูดาย...ไม่มีอำนาจใดๆจะมาหยุดพลังอำนาจความต้องการของมวลชนได้.....

มติชนออนไลน์
ศาลตีราคาประกัน "ยิ่งลักษณ์" คดีจำนำข้าว 30 ล้านบาท-ห้ามออกนอกประเทศ




ชมคลิปพิเศษ : มติชนทีวี
บันทึก : สีหน้า ความรู้สึก และเสียงเพรียก “ยิ่งลักษณ์” หน้าศาลฎีกา ฯ
คลิกดู-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432001040








ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เฉลยเหตุผล
ทำไมศาลฎีกาฯ ตีราคาประกันปล่อยชั่วคราว ยิ่งลักษณ์ 30 ล้านบาท?

คลิกดูเพิ่ม-Visa översättning








รูปภาพของ หยุดดัดจริตประเทศไทย








องค์คณะผู้พิพากษาคดีจำนำข้าว
by เพจกู
รูปภาพของ กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ
(โฉมหน้า"แก็งค์ตบทรัพย์" ขี้ข้าทาสรับใช้หัวหน้ามาเฟียใหญ่ภูมิพล)
วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 จะเป็นวันนัดพิจารณาคดีครั้งแรกเพื่อสอบคำให้การ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ครั้งแรก
1. นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา
- - - - - - - - - -
2. นายวิรุฬห์ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา
- - - - - - - - - -
3. นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา นายสมชาย และพวก
กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551

- - - - - - - - - -
4. นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551
• เคยเป็นองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิพากษาให้ยึดทรัพย์ของ น.ส.นฤมล หรือ ณัฐกมล หรือ ณฐกมล หรือ อินทร์ริตา นนทะโชติ หรือ นนทะ วัชรศิริโชติ อดีตข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 68,104,000 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.57
โดย น.ส.นฤมล เป็นบุตรสาวของ พล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 24 จ.อุดรธานี เป็นคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ โดย น.ส.นฤมล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยของรัฐมนตรีหลายคน ในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และพลังประชาชน
- - - - - - - - - -
5. นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา นายสมชายและพวก กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551
• เป็น 1 ใน 3 องค์คณะผู้พิพากษาที่เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 6374/2556 กรณีจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พูดใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ในอดีตที่สวรรคตไปแล้ว
โดยศาลเห็นว่า ประชาชนชาวไทยผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาตลอด แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้ว ประชาชนก็ยังเคารพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึง โดยทางราชการจัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี
- - - - - - - - - -
6. นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา
• เป็นอดีต อธิบดีศาล ผู้พิพากษาศาลอาญา ที่ทำบันทึกแย้งคำพิพากษาขององค์คณะศาลอาญา ที่สั่งยกฟ้อง นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร กับพวกรวม 5 คน
ในคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีไม่ยอมเก็บภาษี คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (นามสกุลในขณะนั้น) ที่โอนหุ้น บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) มูลค่า 738 ล้านบาท ให้กับนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรม เมื่อปี 40
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา นายสมชาย และพวก กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551
- - - - - - - - - -
7. นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา นายสมชายและพวก กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551
• เคยเป็นหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่พิจารณาพิพากษา
คดีหมายเลขดำ อม.3/2555 ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 27 ราย เป็นจำเลย ในความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต กรณีปล่อยกู้ให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานคร โดยมิชอบ
- - - - - - - - - -
8. นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา
- - - - - - - - - -
9. นายธานิต เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
• หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 4.6 หมื่นล้านบาท กรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มทุนเทมาเส็ก
• เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีผู้บริโภค ในศาลฎีกา ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 หลังจากมีการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549
(อุ๊ย ได้ดีเพราะ รัฐประหาร 49)
• โดยระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ นายธานิศได้ร่วมพิจารณาพิพากษาคดียุบพรรคไทยรักไทยด้วย ซึ่งคดีนี้แม้ตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคไทยรักไทย แต่นายธานิศเป็น 1 ใน 3 ตุลาการรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยให้นำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 มาย้อนหลังใช้บังคับเพื่อกำหนดโทษการตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นเวลา 5 ปี
- - - - - - - - - -
หลังจากดูประวัติโดยสรุป คร่าวๆ ขององค์คณะผู้พิพากษา คดีจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็สามารถทำให้เรา (อาจ) ทำนายทายทัก ถึงผลของคดีว่าจะออกมาในรูปแบบใด
เนื่องจากองค์คณะส่วนใหญ่ เคยตัดสินคดีคนที่มีความเกี่ยวข้องกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งทางพฤตินัย และนิตินัย ได้แก่
ผู้พิพากษา 5 ใน 9 คน เป็นองค์คณะคดีอาญานายสมชาย และพวก กรณีสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2551
และผู้พิพากษา 3 ใน 9 เป็นอดีตองค์คณะที่เคยตัดสินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งผลของการตัดสินคดีดังกล่าว ก็เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าไปในทางที่เป็นผลร้ายของจำเลย
- - - - - - - - - -
โดยในคดีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถือได้ว่า เป็นคดีที่มีความกังหา ในแง่รูปแบบและเนื้อหา
เพราะเป็นผู้ดำเนินการทางนโยบาย ซึ่งยังไม่ปรากฎว่าทุจริต กับข้อกล่าวหาว่าทำให้ชาติเสียหาย ทั้งๆที่มันเป็นการ Subsidize เกษตรกรที่นานาอารยะประเทศก็ต่างทำกัน (แค่ส่อก็ผิด แปลกดีนะ)
และในชั้นศาล ก็ยังมีข้อกังหาตามมาในเรื่องขององค์คณะ ที่ดูจะเหมือนมีทัศนคติที่ หากจะใช้คำว่า ตรงข้ามกับจำเลย ก็จะดูไม่ดี ก็คงใช้คำว่า
"ทัศนคติ ที่ใช้เหตุผลในการตัดสินคดี
ไปในทางที่ไม่เป็นคุณและไม่เป็นกลาง "

เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว
คือ 5 ใน 9 ตัดสิน พี่เขย
และ 3 ใน 9 ตัดสิน พี่ชาย

เสมือนว่า องค์คณะนี้ถูกแต่งตั้งมาเพื่อจัดการคนที่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องทางนิตินัยหรือพฤตินัย
- - - - - - - - - -
จึงอยากตั้งคำถามไปถึงการประชุมเลือกองค์คณะ ว่าทำไม องค์คณะคดีนี้ ดูเหมือนว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีชินวัตร ไม่มากก็น้อย หรือว่ามีใบสั่ง ที่สามารถโหวตเลือก องค์คณะ ให้มาตัดสินได้
ก็หวังไว้ในใจลึกๆ ว่าองค์คณะที่ถูกเลือก จะได้ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษา ให้สมกับวัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประเทศชาติ และปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรม แห่งการปฏิบัติตนของผู้เป็นตุลาการ ที่เรียกว่า “หลักอินทภาษ 4” ซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์
โดยผู้พิพากษา จักต้องละทิ้งอคติ 4 ประการ
เพื่อให้การพิจารณาตัดสินอรรถคดี
เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียง

1. ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรัก ชอบเห็นแก่อามิสสินบน
2. โทสาคติ คือ ลำเอียงเพราะโกรธ ไม่ลุ่มหลงในยศถาบรรดาศักดิ์ โดยยึดมั่นในความสุจริตเที่ยงธรรม
3. โมหาคติ คือ ลำเอียงเพราะหลง ไม่ให้เกิดความเอนเอียงในใจด้วยเพราะมีความโกรธ ความอาฆาตเคียดแค้นอยู่ในใจกับผู้ที่อยู่เบื้องหน้าตน
4. ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะกลัว ไม่ให้เกิดความเอนเอียงในใจเพราะบังเกิดความกลัว ไม่ว่าจะกลัวตาย กลัวจะเกิดการเสื่อมยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น
- - - - - - - - - -
คดีนี้ คนไทยและต่างชาติต่างให้ความสนใจ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไร นอกจากส่งผลกับตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เองแล้ว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องส่งผลกับการเมืองไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน อีกไม่นานเกินรอทุกอย่างจะมีคำตอบ
และที่สำคัญที่สุด เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา
มีผู้พิพากษา 4 ใน 9 คน ได้ไปพบ เปรม ติณสูลานนท์

ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่ง 4 คนนี้ ก็คงไปรับเคาะกระหม่อม
ลงกำกับคาถา จาก เปรม ติณสูลานนท์ เรียบร้อยแล้ว

- - - - - - - - - -
ย้อนกลับไปดูข้อมูลข้างบน
ผู้พิพากษา 5 ใน 9 คน เคย ตัดสิน พี่เขยยิ่งลักษณ์
ผู้พิพากษา 3 ใน 9 คน เคย ตัดสิน พี่ชายยิ่งลักษณ์

และ ผู้พิพากษา 4 ใน 9 คน ไปพบเปรม ติณสูลานนท์
และ 2 ผู้พิพากษาที่ไปหาเปรม ติณสูลานนท์ มีรายชื่อดังนี้
1. นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา
2. นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา
- - - - - - - - - -
(ชีพ - ศิริชัย หนึ่งในสองคนนี้
จะเป็น candidate ปธ.ศาลฎีกา คนต่อไป
ต่อจาก นายดิเรก อิงคนินันท์ ปธ.ศาลฎีกาคนปัจจุบัน

แต่มีคนบอกว่า ตามอาวุโสแล้วจะเป็น
นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา

ซึ่งนายดิเรก เคยเป็น 1 ในองค์คณะศาลฎีกาฯ พิจารณาคดีหมายเลขดำที่ อม.9/2551ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท
เป็น 1 ในองค์คณะพิจารณาคดีทุจริตปล่อยกู้แบงค์กรุงไทย ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวกรวม 27 ราย ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด
และยังเป็น 1 ในองค์คณะ 5 คนพิจารณาอุทธรณ์ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน)
- - - - - - - - - -
อีก 2 คน ท่านทั้งหลาย ก็ลองทายดูว่าจะเป็นใคร
แต่ท่านทั้งหลาย คงต้องจดจำชื่อ 2 คนนี้ ต่อไปอีกนาน
1. นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา
2. นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา

เพราะไปหา เปรม ติณสูลานนท์
หากท่านอยากทราบชื่อทั้ง 4 คน
ไปดูที่สมุดปูมในบ้านเอาเองเถิด

ยกเว้นว่า มันจะเอาเล่มใหม่มาทำ ตั้งแต่สองวันก่อน
ตามที่กูบอกไปแล้ว และจะออกมาปฏิเสธว่า "ไม่จิ๊ง ไม่จริง"
ตามประสา คนชอบแต่งตัวสาว จริงไหม เปรม

- - - - - - - - - -










Inga kommentarer:

Skicka en kommentar