söndag 21 december 2014

อัพเดทเรื่อง... การเข้าสู่ตำแหน่ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

การเข้าสู่ตำแหน่ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" : โดยสังเขป

กรณีที่ ๑.กษัตริย์จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ ไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม

กรณีที่ ๒.พระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร



โดย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล


สภาพการณ์ของสถาบันกษัตริย์ในช่วงปลายรัชกาล คงหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะพิจารณาถึงความจำเป็นต้องมี "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ขึ้น  ด้วยเหตุที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนด "เงื่อนไขก่อตั้งเหตุ" ที่จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ไม่ใช่อำนาจดุลยพินิจในการเลือกที่จะแต่งตั้งผู้สำเร็จฯ หรือไม่ก็ได้) ถึงกระนั้นก็ตาม ความดำริที่จะแต่งตั้ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ก็ยังคงเป็นเรื่องที่สังคมไทยมองข้ามหรือเมินเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
บทความนี้ จึงหยิบยก "ประเด็นการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้สำเร็จราชการ


แทนพระองค์" ขึ้นพิจารณาภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญไทย


(ปัจจุบัน) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ใช้ประกอบการพิจารณา


ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย อันเป็นการตรวจสอบความชอบด้วย


รัฐธรรมนูญ (ความเคารพต่อรัฐธรรมนูญ) ของสถาบันการเมืองทั้งปวง


ตามครรลองแห่ง "นิติรัฐ-ประชาธิปไตย" อีกด้วย
 
ผู้เขียนจะอธิบาย "เหตุในการเข้าสู่ตำแหน่ง, การเข้าสู่ตำแหน่ง


และการสิ้นสุดลง" ของตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็น


ลำดับโดยสังเขป ดังนี้
 
 
[ตอนที่ ๑.] "เหตุ" ในการแต่งตั้ง "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"


แบ่งเป็น ๒ กรณี
 
กรณีที่ ๑.กษัตริย์จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ ไม่ว่าเพราะ


เหตุใดก็ตาม
 
คำอธิบายประกอบ จะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ หรือ บริหาร


พระราชภาระ ไม่ได้นั้น มีลักษณะอย่างไร? ในทางตำรายกตัวอย่าง


ว่า "ทรงพระประชวร" (โดยดู หยุด แสงอุทัย. คู่มือรัฐธรรมนูญและ


ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร : มงคล


การพิมพ์, ๒๕๐๕. หน้า


๒๖.) ลักษณะดังกล่าวต้องถึงขนาดเพียงใด? เช่น ทรงประชวร


พระอาการมากซึ่งทำให้ไม่  สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ


ได้เป็นเวลาช้านานเกินปกติ หรือ เคลื่อนไหวอิริยาบถของร่างกาย


ไม่สะดวก เป็นต้น (โดยดู ไพโรจน์ ชัยนาม. คำอธิบายกฎหมายรัฐ


ธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม ๒ ตอน ๑. มหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์, ๒๔๙๕. หน้า ๑๗๖.)ในทางภาวะวิสัยโดยสภาพ


เช่นว่านั้น กษัตริย์ย่อมไม่อาจบริหารพระราชภาระได้ เช่น การเข้า


สู่ตำแหน่งของ "ผู้ดำรงตำแหน่ง  ระดับสูง" จะต้องถวายสัตย์ต่อ


กษัตริย์อันเป็นเงื่อนไขในการเข้ารับหน้าที่, การลงพระปรมาภิไธยใน


กฎหมายก่อนประกาศใช้ (เช่น เกิดเหตุฉุกเฉินรัฐบาลต้องตราพระ


ราชกำหนด เหล่านี้ต้องมีผู้ลงพระ


ปรมาภิไธย) เป็นต้น เพื่อกิจการของรัฐจะดำเนินสืบเนื่องต่อไปไม่


สะดุดชะงักลงโดยเหตุจากตัวบุคคล (พระมหากษัตริย์ในฐานะ


องค์กร : ดำรงอยู่อย่างสืบเนื่องไม่ขาดสาย เพราะเป็นตำแหน่ง)
 
กรณีที่ ๒.พระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร
 
คำอธิบายประกอบ เนื่องจากพระมหากษัตริย์มีเขตอำนาจในทาง


พื้นที่ - พระมหากษัตริย์เป็นผู้แสดงเจตนาของรัฐ ในการใช้อำนาจ


อธิปไตยของปวงชนชาวไทย : ตำแหน่งประมุขของรัฐจึงต้องการ


ความสืบเนื่อง, เช่นเดียวกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกนอกเขตจังหวัด


ก็ต้องแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ ทำหน้าที่รักษาการแทน เป็นต้น
 
 
[ตอนที่ ๒] รัฐธรรมนูญบัญญัติหน้าที่ไว้ดังนี้
 
ทางที่หนึ่ง.ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้สำเร็จ


ราชการแทนพระองค์
 
คำอธิบายประกอบ จะทรงแต่งตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทน


พระองค์ก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย (รัชทายาท, พระราชินี, นาย ก.


หรือ นาย ข. ก็ได้)
 
ทางที่สอง.ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งได้ :


๑.ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลาง


ก่อน


๒.ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้สำเร็จราชการแทน


พระองค์ ไปให้


๓.รัฐสภาให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้หนึ่งผู้ใดนั้น
 
คำอธิบายประกอบ 


ก.คณะองคมนตรี เป็นผู้มีอำนาจตีความว่า ลักษณะเช่นใดที่พระมหา


กษัตริย์อยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถ   แต่งตั้งใครได้ (ตามทางที่หนึ่ง)


กรณีที่ตีความโดยอาศัย "มติของคณะองคมนตรี" ว่า ในสภาวะเช่นว่า


นั้นพระมหากษัตริย์แต่งตั้งใครไม่ได้แล้ว ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้


สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว โดยผลของรัฐธรรมนูญ
 
ข.คณะองคมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อใครก็ได้เป็นผู้สำเร็จราชการ


แทนพระองค์ (รัชทายาท, พระราชินี, นาย ก. หรือ นาย ข. ก็ได้)


และผู้ชี้ขาดคือ รัฐสภาให้ความเห็นชอบ


ข.๑) กรณีรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบรายชื่อดังกล่าว คณะองคมนตรี


ต้องกลับไปคัดเลือกบุคคลผู้เหมาะสมคนใหม่


ข.๒) กรณีรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ก็ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งบุคคล


นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


ข.๓) กรณีได้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยความเห็นชอบของ


รัฐสภาแล้ว ให้ "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว" กลับมาดำรง


ตำแหน่งประธานองคมนตรีดังเดิม และผู้รักษาการตำแหน่งประธาน


องคมนตรี ก็กลับไปเป็นองคมนตรีดังเดิม
 
ค.หากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยความเห็นชอบของ


รัฐสภา อยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธาน


องคมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปชั่วคราวไปพลาง


ก่อน จนกว่าคณะองคมนตรีจะเสนอรายชื่อผู้เหมาะสมไปยังรัฐสภา


เห็นชอบเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใหม่ (ตีความโดยเทียบ


เคียงกฎหมายลายลักษณ์อักษร ให้นำข้อ ก, ข มาใช้โดยอนุโลม)


 
ง.ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่ว


คราว ดำรงตำแหน่งจนกว่า :


ง.๑) พระมหากษัตริย์กลับมายังพระราชอาณาจักร (หรือ)


ง.๒) พระมหากษัตริย์กลับมาสามารถบริหารพระราชภาระได้ (หรือ)


ง.๓) มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่
 
 
[ตอนที่ ๓] ผลบังคับตามรัฐธรรมนูญ
 
ตามที่กล่าวใน ตอนที่ ๒. ว่าเมื่อปรากฏ "เหตุ" ในสองกรณี (ดังกล่าว

ในตอนที่ ๑.) เป็น "หน้าที่" ของพระมหากษัตริย์ หรือคณะองคมนตรี

ในการ "แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (ในกรณีกษัตริย์ตั้ง

เอง) หรือ "เสนอรายชื่อไปยังรัฐสภาให้ความเห็นชอบ" (ในกรณี

กษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งเองได้)

 
เมื่อเป็น "หน้าที่" แต่ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการกระทำ


ที่ "ขัดรัฐธรรมนูญ" และทำให้ "บทรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวไม่มี


ผลบังคับ" ในที่สุด กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ

และอาจกระทำผิดตามกฎหมายอาญา เช่น ปลอมลายเซ็นต์ใน


เอกสารราชการ (ลงพระปรมาภิไธยปลอม - ลงในกฎหมายก่อน


บังคับใช้ หรือตามตัวบทรัฐธรรมนูญเรียกว่า "ร่างพระราชบัญญัติ")


เป็นต้น.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar