fredag 19 december 2014

10ตาสว่างสร้างวิกฤตไทยกลายเป็นรัฐล้มเหลว: ต้องเร่งสร้างรัฐประชาธิปไตยประชาชน



10ตาสว่างสร้างวิกฤตไทยกลายเป็นรัฐล้มเหลว:

ต้องเร่งสร้างรัฐประชาธิปไตยประชาชน

นำเสนอต่อมหาชนโดย จอห์น ลี



ตาสว่างที่3 ศาลเป็นของกษัตริย์:ใครเจอข้อหาหมิ่นกษัตริย์ไม่มีรอดสักราย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน  2475 ของคณะราษฎร เพื่อให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามที่เป็นของกษัตริย์ โอนมาเป็นของประชาชน, แต่มีหนึ่งในอำนาจนั้น ที่คณะราษฎรไม่ได้แตะต้องเลย คือ "ศาล", ดังนั้นอำนาจตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยจึงเป็นอำนาจของกษัตริย์โดยสมบูรณ์ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงมาก่อน

โดยหลักการและตามความเป็นจริงที่ผ่านมา ใครก็ตามที่มีคดีความกับกษัตริย์หรือกับครอบครัวของกษัตริย์ ศาลจะตัดสินให้แพ้ทั้งนั้นดังเช่นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรวมถึงใครก็ฟ้องกษัตริย์และครอบครัวของกษัตริย์ต่อศาลไม่ได้ และถ้าใครขืนฟ้องก็เดินไม่ทันถึงศาลก็จะเกิดอาการหัวใจขาดเลือดโดยไม่รู้สาเหตุมาก่อน, ตามความเป็นจริงมีข่าวการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยหรือการตายอย่างลึกลับของหลายคน  (แต่ทุกคนรู้ว่าคนในครอบครัวกษัตริย์เป็นคนสั่งฆ่า เช่น นางศิรินทิพย์ ดาราหนัง, นายประเสริฐ เลขา ฟ้าหญิงอุบลรัตน์และล่าสุด พ.ต.อ. อัครวุฒิ  ที่ตกตึกตายในค่ายทหารเป็นต้น) แต่ไม่มีญาติผู้ตายคนใหนกล้าแม้แต่จะร้องเรียน, และนับแต่การตายของ รัชกาลที่ 8 กษัตริย์ภูมิพลก็ยิ่งเห็นถึง "พลังอำนาจตุลาการ" ที่ศาลบางคนได้เข้าช่วยเหลือจนพ้นจากการดำเนินคดี โดยศาลตัดสินบิดเบือนโยนความผิดให้ข้าราชบริพาร 3 คนรับเคราะห์แทนและตัดสินประหารชีวิต จึงทำให้ กษัตริย์ภูมิพล เกาะติดกับผู้พิพากษามากขึ้นไม่น้อยไปกว่าการเกาะติดอำนาจทหาร เราจะเห็นได้จากการเลือกสรรคณะองคมนตรีจะมีแต่ข้าราชการสองสายอาชีพที่ถูกเรียกให้เข้าไปรับใช้ใกล้ชิดจำนวนมากที่สุด คือ ทหารกับ "ศาล" รวมถึงการแจกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งสำคัญๆทางการเมืองหลังการรัฐประหารทุกครั้ง นอกจากมีทหารเป็นหลักแล้วก็จะมี ผู้พิพากษาหรือ ศาลมีส่วนร่วมมากที่สุดดังจะเห็นตั้งแต่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี, นายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการฆ่าประชาชนเมื่อ 14 ตุลาคม  2516 , นายธานินท์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีในเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดร้ายที่สุดเมื่อ  6 ตุลาคม  2519 และยิ่งในโลกยุคใหม่ที่ต้องการให้การบริหารรัฐมีกติตาที่ชัดเจนแต่ กษัตริย์ภูมิพล กลับไม่ยอมเคารพกติตา เราจึงเห็นการขนผู้พิพากษาออกมาเล่นการเมืองในทุกรูปแบบมากที่สุดเพื่อให้การควบคุมอำนาจเป็นไปตามพระราชประสงค์ของกษัตริย์ภูมิพล

ต้องยอมรับความจริงว่าการรัฐประหารและการสังหารหมู่ประประชาชนในโลกยุคใหม่นั้นทำไม่ได้แล้วแต่ เพราะกษัตริย์ภูมิพล และครอบครัวยังคงต้องการรักษาอำนาจแบบโบราณไว้ ไม่ยอมให้เกิดการพัฒนา ระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่ต้องการให้อำนาจหลุดจากมือของตนและครอบครัวไปเป็นของประชาชน การรัฐประหารและการสังหารประชาชนที่พระองค์ทรงระแวงสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อการถือครองอำนาจของตนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องใช้นักกฎหมายมาออกรูปแบบโครงสร้างอำนาจให้ริดรอนอำนาจของประชาชน และซ่อนอำนาจของกษัตริย์แฝงไว้ทุกขั้นตอน แต่หากพระองค์ยังไม่พอพระทัยก็จะเกิดการส่งสัญญานให้ทำรัฐประหารอีก แล้วก็ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่อีก เพื่อให้อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่พระองค์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการรัฐประหาญฉีกรัฐธรรมนูญอยู่เสมอในประเทศไทย และมีการนิรโทษกรรมอย่างง่ายๆโดยความเห็นชอบของกษัตริย์ภูมิพล

นอกจากนี้ศาลไทยยังอุกอาจกล้าที่จะปกป้องคุ้มครองการสังหารประชาชนตามพระราชประสงค์ด้วย ดังจะเห็นได้ว่าการสังหารหมู่ประชาชนโดยทหารของพระราชาที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด แต่ปรากฎว่าผู้กระทำผิดไม่เคยถูกดำเนินคดีเลยหรือแม้หากศาลจำเป็นจะต้องรับฟ้องแต่สุดท้ายก็จะตัดสินยกฟ้องหรือทำให้คดีต้องเกิดการชะงักงันดำเนินต่อไม่ได้ เช่นการสั่งจำหน่ายคดีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถูกฟ้องเป็นจำเลยในข้อหาเป็นคนออกคำสั่งสังหารหมู่ประชาชนคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ในปี 2553 ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่าทั้งสองคนนี้เป็นหุ่นเชิดของ กษัตริย์ภูมิพล และ ราชินี ที่อยู่เบื้องหลัง  (เป็นที่มาของข้อความว่า  ไอ้เหี้ยสั่งฆ่าอีห่าสั่งยิง) เป็นต้น

ด้วยเหตุที่ กษัตริย์ภูมิพล ต้องการให้อำนาจสูงสุดอยู่ในมือตนเองนี้ จึงจำเป็นต้องสร้างอิทธิพลครอบงำกระบวนการยุติธรรมโดยส่งเสริมวาทกรรมว่า "ศาลคือตัวแทนพระมหากษัตริย์" (ไม่ต่างอะไรกับฑูตคือตัวแทนของพระมหากษัตริย์หรือทหารพระราชา)  ก็ยิ่งทำให้ศาลออกห่างจากประชาชนและออกห่างจากความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น และในภาคปฏิบัติก็ได้เลือกเฟ้นบุคคลที่พร้อมจะเป็นสุนัขรับใช้มากลุ่มหนึ่ง  เพื่อทำการล้างสมองโดยมอบทุนส่วนพระองค์ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศและก่อนจะเดินทางไปก็ให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดเมื่อกลับมาก็ได้รับปูนบำเหน็จรางวัลและให้เกิดความหวังอันสูงสุดว่าถ้าศาลคนใดรับใช้ตามพระราชประสงค์ทุกอย่าง จนพอพระทัยก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีและได้ดิบได้ดีในชีวิตดังเช่น นายสัญญา ธรรมศักดิ์, นายธานินท์ กรัยวิเชียร, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นตัวอย่าง, ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องถามว่าทำไมคนเรียนเก่งเฉลียวฉลาดอย่าง นายจรัล ภักดีธนากุล หรือ นายสุพจน์ ไข่มุก ที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือ นาย พรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาที่ผันตัวมาเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ จึงกล้าพูดกล้าทำในสิ่งที่ผิดและละเมิดหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่ใครฟังก็รู้ว่าไร้เหตุผล เช่น "ให้ราดยางถนนให้หมดก่อนค่อยคิดทำรถไฟความเร็วสูง "  เป็นต้น

ภาวะการณ์ที่ศาลแสดงตัวรับใช้ถวายชีวิตให้แก่ กษัตริย์ภูมิพล ในบั้นปลายชีวิตที่ทรงอำนาจมากที่สุดนี้ได้เปิดเผยตัวตนของกระบวนการยุติธรรมไทยว่าเป็น "กระบวนการยุติธง" คือตัดสินคดีตามธงคำสั่งที่ส่งผ่านคนใกล้ชิดหรือหุ่นเชิดเช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงทำให้ระบบสังคมการเมืองไทยปั่นป่วนที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน



         ---------------------------------------

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar