lördag 18 oktober 2014

ผู้นำไทยเปิดตัวเวที"อาเซม" โรดแม็ป"เราจะทำตามสัญญา" หวังว่าไม่เป็น"สัญญาลมๆแล้งๆ" แล้วลืมทิ้งไว้ที่มิลานนะท่านนายพลผู้นำ คงได้เห็นกันในเวลาอันใกล้นี้...



วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์


ผู้นำไทยเปิดตัวเวที"อาเซม" โรดแม็ป"เราจะทำตามสัญญา"
คอลัมน์ ข่าวสดอาเซียน

อา เซม หรือ "การประชุมเอเชีย-ยุโรป" เป็นเวทีระดับโลกระหว่างทวีปเอเชียและทวีปยุโรปใช้หารือในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ชาติในสองทวีปสลับกันเป็นเจ้าภาพ

ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ที่นครมิลาน ประเทศอิตาลี สหภาพยุโรปเป็นประธาน

ผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้นำรัฐบาลหรือผู้แทนจากประเทศสมาชิก 51 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศจากทวีปยุโรป 30 ประเทศ และประเทศจากทวีปเอเชีย 21 ประเทศ ส่วนองค์กรระดับภูมิภาคมี 2 องค์กร ได้แก่ อาเซียนและสหภาพยุโรป หรืออียู

นอกจากเวทีใหญ่ของเอเชียกับยุโรป ยังมีการประชุมกลุ่มอาเซียน-อียูอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปและ หารือประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจและมีผลประโยชน์ ร่วมกัน

เนื่องจากหลังจากเกิดวิกฤตการเงินยุโรป หรืออียูต้องการจะมีความสัมพันธ์ในเชิงสร้าง สรรค์ร่วมกับอาเซียนมากยิ่งขึ้น โดยสหภาพยุโรปมองว่าอาเซียนเป็นตลาดทดแทนสินค้า ของยุโรป

สถิติมูลค่าการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนปี 2556 รวม 178,625 ล้านยูโร ขณะที่ปี 2555 มีมูลค่ารวม 180,697 ล้านยูโร

ในเวทีนี้การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนตะวันตก จับจ้องไปยังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เป็นพิเศษ เนื่องจากมีศึกเผชิญหน้าอยู่กับชาติยุโรปที่ต้องสะสางกันหลายประเด็น โดยเฉพาะกรณียูเครน

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำไทยก็มีสื่อสนใจเช่นกัน ในฐานะที่เดินทางร่วมเวทีที่มีผู้นำชาติยุโรปร่วมด้วยเป็นครั้งแรก นับจากเกิดเหตุรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557

ประเทศในยุโรปยังคงมีข้อสงวนเกี่ยวกับการแสดงท่าทีทางการเมืองต่อสถานการณ์ในไทย

ส่วนองค์กรสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนยังจับตาอยู่อย่างใกล้ชิด

แม้ว่าการเคลื่อนไหวในประเทศไทยถูกจำกัดตามแนวนโยบายปรองดองภายใต้กฎอัยการศึก แต่ในต่างแดนแล้ว กิจกรรมการ ต่อต้านรัฐประหารยังปรากฏให้เห็นและเป็นที่สนใจของสื่อตะวันตก

รวมถึงในเมืองมิลาน สถานที่จัดการประชุมอาเซมครั้งนี้ด้วย

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ในขณะที่ไทยมีระบอบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น ต้องทำให้ยุโรปเห็นว่าสามารถแยกประเด็นเศรษฐกิจและการเมืองออกจากกันได้ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองชาติและใช้ข้อได้เปรียบของไทยด้านที่ตั้งเป็น ศูนย์กลางของภูมิภาค เชื่อมต่อกับอาเซียนประเทศอื่นๆ และจีน

การที่อาเซียนเป็นสะพานเพื่อทอดไปยังจีน จึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ยุโรปเพิกเฉยไม่ได้ ประกอบกับอาเซียนมีข้อตกลงการค้าเสรีกับจีน แต่อียูไม่มี

แม้เวทีการหารือในเวทีอาเซมจะไม่ได้มีผลผูกพันต่อสมาชิก แต่ถือเป็นมารยาททางการเมือง ซึ่งหากยืนยันหรือตกลงด้วยถ้อยวาจาอะไรต่อกัน ควรหารือกันต่อไปในเวทีอื่นๆ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ส่วนนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า อยากให้ประเทศอื่นมองประเทศไทยด้วยสถานการณ์ที่เข้าใจ และไทยกำลังดำเนินการตามแผนโรดแม็ปที่ขณะนี้เปิดให้ทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในสภาปฏิรูปแห่งชาติ และยังมีประเด็นที่จะต้อง ร่วมมือกับไทยและนานาประเทศในการรับมือกับปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การก่อการร้ายที่เกิดภัยคุกคามจากกลุ่มรัฐอิสลาม หรือไอเอส และโรคระบาดอย่างเช่นอีโบลาด้วย

ในทริปประชุมอาเซ มครั้งนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมคณะไปด้วย โดยได้ประชุมกับเอกอัครราชทูตไทยประจำภูมิภาคยุโรป

นายวิทวัส ศรีวิหค ทูตไทยประจำกรุงปราก สาธารณรัฐเช็กกล่าวว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ได้พูดคุยเรื่องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย โดยให้ย้ำกับมิตรประเทศในยุโรปว่า ไทยยังยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ขอเวลาให้เราสร้างความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

นอกจากนี้ยัง ได้พูดคุยเรื่องส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยา ศาสตร์และนวัตกรรมซึ่งไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนทำให้เป็นจุดหนึ่งที่ ประเทศในยุโรปสนใจจะเป็นพันธมิตรกับเรามากขึ้น

ขณะที่ นายวีรชัย พลาศรัย ทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า มีการมอบนโยบายว่าเราต้องไปพูดจาอย่างสร้าง สรรค์ สิ่งที่จำเป็นต้องพูดมากคือเรื่องหนทางข้างหน้าที่เราจะกลับสู่ประชาธิปไตย

"ในด้านเศรษฐกิจ ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของยุโรป เราจะต้องขยายการค้า การลงทุน ตลอดจนการท่องเที่ยวระหว่างกันให้เพิ่มขึ้น" ทูตวีรชัยกล่าว

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะถูกสื่อต่างประเทศตีข่าวเรื่องให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปอิตาลีว่า โรดแม็ปอาจกินเวลานานและการเลือกตั้งอาจล่าช้า ขึ้นอยู่กับการปฏิรูป แต่ในที่ประชุมอาเซมครั้งนี้ท่านผู้นำยืนยันกับทูตไทยว่าจะเดินหน้าแผนโรดแม็ปเพื่อเรียกความเชื่อมั่น และทำวันนี้เพื่อไม่ให้มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า

สำหรับท่าทีของชาติยุโรปดูจะเป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงได้ยากในทันที หลังอียูเคยออกแถลงการณ์อย่างชัดเจนเมื่อเดือนมิ.ย.ปีนี้ ว่า

"มีเพียงโรดแม็ปที่น่าเชื่อถือและจัดทำโดยเร็วว่าจะหวนไปใช้การปกครองตามรัฐ ธรรมนูญ และการเลือกตั้งที่ครอบคลุมและน่าเชื่อถือเท่านั้นที่อียูจะเดินหน้าสนับ สนุนประเทศไทย"

คำชี้แจงในเวทีนี้ของผู้นำไทยจะตรงกับแนวทางที่อียูวางไว้หรือไม่ คงได้เห็นกันในเวลาอันใกล้
 
                

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar