onsdag 8 oktober 2014

ใครเป็นใครใน."สนช...สปช". ก็หน้าเดิมๆทั้งนั้นสมคบคิด"ปฎิรูปอะไร?".คนชั่วๆทั้งหลายพวกคิดทำลายชาติขี้ข้าทาสรับใช้คนของอำมาตย์เผด็จการทรราชหน้าเดิมนั่นเอง.... แล้วมันจะปฎิรูปประเทศให้ดีได้อย่างไร?? ขอฟันธงว่าอีกไม่นานทั้ง อำมาตย์ ผู้สั่งการ.. คสช... รัฐบาลทหาร.. สนช."ตายยกพวงก่อนคลอดแน่นอน....นับเวลาถอยหลังได้เลย



Foto: ฝีมือ 4 ประสานนักกฏหมาย ผู้วางโครงสร้างอำนาจให้เผด็จการ

 "มีชัย ฤชุพันธุ์" ใน คสช. "วิษณุ เครืองาม" ในรัฐบาล "พรเพชร วิชิตชลชัย" ใน สนช.และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ใน สนช.

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412512762
นักกฎหมายข้าทาสในเรือนเบี้ยผู้รับใช้อำมาตย์ทรราชทำลายระบอบประชาธิปไตย...





เจิมศักดิ์ ยันรธน.ฉบับใหม่ต้องประชามติ ปัดตอบ บวรศักดิ์เต็งหนี่งนั่งประธาน ลั่นเข้ามาปฏิรูปด้านการเข้าสู่อำนาจรัฐ รธน.ฉบับใหม่ ควรร่างเพื่อกันคนอย่างทักษิณ






Foto: ร่วมแสดงความยินดีกับ "คนเดือนตุลา" ที่ไปรับใช้เผด็จการทหาร เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คำนูณ สิทธิสมาน ประสาร มฤคพิทักษ์ และ รสนา โตสิตระกูล ที่ได้เป็นสภาปฏิรูปฯของคณะเผด็จการทหาร ในวันครบรอบ "38 ปี 6 ตุลา 19" 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412579876


พวกทาสที่ไม่ยอมปลดปล่อยตัวเองฝักใฝ่เผด็จการทรยศต่อตัวเองทำลายประเทศชาติ  ทำร้ายเพื่อนร่วมชาติ


  .....................................................                
               ฐากูร บุนปาน : ปฏิรูปอะไร?

        
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
รายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 250 คน ประกาศออกมาแล้วเมื่อต้นสัปดาห์

เว้นเรื่องตัวบุคคลไม่วิจารณ์เอาไว้ก่อน ว่ากันแต่เรื่อง "ความ" ล้วนๆ

ก็ยังน่าหนักใจแทน

หนักใจว่าท่านจะปฏิรูปอะไรกัน

เอาแค่ภาระในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างเดียวก็ส่อเค้าว่าจะเป็นปัญหาใหญ่แล้ว

เพราะมีมาตรา35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันค้ำคออยู่
มาตรา 35 นั้นท่านเขียนกำหนดเอาไว้เลยว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้รวม 10 หัวข้อด้วยกัน

อาทิ

-ป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

-การป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด

-กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงําหรือชี้นําโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

-สร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ

-ปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืนและป้องกันการบริหารราชการที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว

-ใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ

-กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้

-กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสําคัญต่างๆให้สมบูรณ์ต่อไป

เจตนาคนเขียนรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ดูเผินๆ อาจบอกว่าดี

แต่เวลาลงมือทำแล้วมีปัญหาแน่นอน
เช่น ตัดสิทธิผู้เคยถูกลงโทษทางการเมืองอย่างเด็ดขาด แปลว่าผิดเล็กน้อยก็ประหารชีวิตหรือ

ห้ามประชานิยม แล้วที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้เรียกว่าอะไร

ห้ามแก้ไขหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้สั่งไว้แปลว่าร่างผิดก็ต้องทนกันไปอย่างนั้นหรือ

ฯลฯ

ใจคอจะไม่ถามคนส่วนใหญ่ของประเทศเลยหรือ
ถ้าร่างมาแล้วมีคนสักครึ่งประเทศไม่เห็นด้วยจะเอายังไง

จะยุ่งซ้ำรอยรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่

นี่ขนาดแค่แก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียวนะ

ยังไม่นับปฏิรูปเรื่องอื่น



 
 
(ที่มา:มติชนรายวัน 8 ตุลาคม 2557)



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar