måndag 7 juli 2014

"เสร็จนาฆ่าโคถึกเสร็จศึกฆ่าขุนพล" บทเรียนในอดีตมีไว้ให้ศึกษามากมาย ทำไมเผด็จการทหารจึงโง่ดักดานอย่างนี้... นี่มันยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารใช้เวลาแค่เสี้ยววินาที ไม่ใช่ยุคปราบคอมฯหลังเขานะในอดีตนะ วันนี้ประชาชนเขารู้ความจริงหมดแล้ว ไอ้เผด็จการอำมาตย์ทรราชชาติชั่ว....

ก้าวแรกพลาด ปฏิวัติเสียของ ..ช่วยไม่ได้เพราะโง่เอง.!!!!



 
โดย ทีมการเมืองไทยรัฐออนไลน์

โจทย์หิน “ประยุทธ์” ช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจพิเศษ

มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โม่แข้งกันมาถึงช่วงโค้งสุดท้าย เข้าสู่รอบตัดเชือก 4 ทีม กรุยทางสู่รอบชิงชนะเลิศ

ทีมชาติไหนคือเบอร์หนึ่งของโลกจะได้รู้กันในไม่ช้า

ในสถานการณ์ที่ห้วงเวลาแห่งความสนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจใกล้ปิดฉาก ขณะที่กระแสความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ซาลงไปเพราะโดนกระแสฟุตบอลโลกกลบพื้นที่ข่าว

ก็เริ่มกลับมามีประเด็นร้อนๆให้ติดตาม

ก่อนอื่นข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์เลยก็คือการประสบความสำเร็จในการเจรจากับทางการกัมพูชาให้ปล่อยตัวนายวีระ สมความคิด อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกจากเรือนจำในกรุงพนมเปญ กลับมาประเทศไทย

ตามข้อมูลสื่อเขมรรายงานว่า เป็นการพระราชทานอภัยโทษตามคำขอของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

งานนี้จึงถือเป็นเครดิตของหัวหน้า คสช.เต็มๆ

กับการจัดรายการคืนความสุขให้นายวีระและครอบครัว ที่ทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางบวกภายใต้การบริหารอำนาจพิเศษของคณะรัฐประหาร

มีเนื้องานที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม

ต่อเนื่องกับรายการคืนความเป็นธรรมให้คนในสังคม ตามโปรแกรมที่ คสช.จัดภารกิจเร่งด่วนในการลุยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบลงลึกรายละเอียด ทั้งการจัดระเบียบวินรถตู้ สางปัญหาคิวมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ล้างมาเฟียสนามบิน ไปยันแก้ปัญหาลอตเตอรี่แพงเกินราคา

เน้นปัญหา “หญ้าปากคอก” ที่ชาวบ้านสัมผัสได้โดยตรง

ตามรูปการณ์ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งแก้ไขไม่ได้หรือไม่ตั้งใจแก้เพราะติดแง่เรื่องผลประโยชน์ แต่ทหารทำได้เนื้อได้หนัง หลังยึดอำนาจการปกครองแค่ไม่กี่วัน

“คสช.นิยม” เบิ้ล “ประชานิยม”

ทหารเดินแต้มชิงกระแสได้ไม่แพ้นักการเมือง

ตามท้องเรื่อง ยังมีการเดินหมากแก้เหลี่ยมลดแรงเสียดทาน แบบที่มีการประกาศล่วงหน้า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคมปี 2558

เพื่อลดแรงกดดันจากสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกา

ขณะเดียวกัน ขุนทหารทีมงาน คสช.ก็โชว์แผนการเดินทางเยือนประเทศจีน อินเดีย พม่า อาศัยความสัมพันธ์ทางทหารในการดีลกับประเทศที่เปิดทางให้นัยว่า เพื่อคานอำนาจกับชาติตะวันตก

แต่ที่ตั้งใจเน้นมากๆ พล.อ.ประยุทธ์ประกาศเสียงเข้มเลยว่า นับจากวันนี้ คสช.ขอยืนยันจะไม่มีการทุจริตหรือเรียกร้องผลประโยชน์แม้แต่บาทเดียว หากพบหรือถูกเรียกรับผลประโยชน์ใดๆให้แจ้งมาจะดำเนินการตรวจสอบและลงโทษทันที

ตั้งมาตรฐานต้านโกงไว้สูงลิบ

เพราะมันคือ “แต้มต่อ” ที่ทหารถือไว้เหนือรัฐบาลนักการเมืองที่เพิ่งล้มกระดานกันไปเพราะปัญหาทุจริต และจะเป็นเงื่อนไขในการตีกรรเชียงหนีปมร้อนๆที่คสช.อาจถูกตั้งแง่จากสังคมกับคำนิยามที่ว่า “สมบัติผลัดกันชม”
สรุปสถานการณ์มาถึงตรงนี้ ด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องของการโชว์เนื้องาน กระตุกมาตรฐานต้านคอร์รัปชัน คสช.ประคองสถานการณ์สู้กับแรงเสียดทาน

ฝ่ากระแสต้านรัฐประหารทั้งในและต่างประเทศ

แต่อีกด้านหนึ่งก็เริ่มมีความคืบหน้าในกระบวนการ “แชร์อำนาจ”

ทั้งในประเด็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดบริหารเหมือนรัฐบาลพลเรือน โดยจังหวะการยกเครื่องใหญ่ ตามคำสั่ง คสช.โยกย้ายข้าราชการระดับสูง ปลัดกระทรวง อธิบดี 3-4 ลอตใหญ่

จัดระเบียบเครือข่ายขั้วอำนาจเก่า ขั้วอำนาจใหม่

นัยว่า เพื่อให้พร้อมสำหรับการรองรับรัฐบาลเฉพาะกิจที่ พล.อ.ประยุทธ์ระบุออกอากาศชัดๆ จะเริ่มบริหารแบบรัฐบาลทั่วไปในเดือนกันยายน

ซึ่งนั่นก็ต่อเนื่องมาถึงจุดหักเหสำคัญ

โจทย์หินที่ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องคิดหนักในห้วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน “อำนาจพิเศษ”

กับการตัดสินใจวางบทบาทสถานะของตัวเอง ตามเงื่อนไขที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะครบกำหนดเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ทบ.สิ้นเดือนกันยายนนี้

“บิ๊กตู่” อยู่ตรงจุดไหนถึงจะชัวร์ที่สุด

กับสูตรที่ประเมินความเป็นไปได้ สูตรแรก พล.อ.ประยุทธ์ต่ออายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ทบ.ออกไป พร้อมนั่งควบทั้งตำแหน่งหัวหน้า คสช. และเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

แน่นอนจุดดีเพื่อความเบ็ดเสร็จในการบริหารอำนาจ

พล.อ.ประยุทธ์สามารถใช้ความเด็ดขาดในการเดินยุทธศาสตร์ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ในฐานะของผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

แต่ปัญหาก็คือบรรดาน้องๆในกองทัพที่ต่อแถวรอขึ้นมาเสียบแทนตำแหน่ง จะต้องสะดุดกันหมด และนั่นก็อาจเกิดปรากฏการณ์ “คลื่นใต้น้ำ” ในหมู่ท็อปบูต

ที่สำคัญมันยังเสี่ยงกับการจุดกระแสต่อต้านของพวกที่ระแวงอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ อย่างที่เริ่มมีกระแสกระทบกระเทียบเปรียบเปรยกับยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี

นั่นก็เลยนำมาซึ่งสูตรที่สอง พล.อ.ประยุทธ์นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเอง แล้วสลับคิวให้คนที่ไว้ใจได้มานั่งในตำแหน่ง ผบ.ทบ.ควบสถานะหัวหน้า คสช.

โดยแคนดิเดตที่อยู่ในข่ายก็คือ “บิ๊กต๊อก” พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. กับ “บิ๊กโด่ง” พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รอง ผบ.ทบ.

ข้อดีก็คือได้ภาพของนายกฯที่ไม่เบ็ดเสร็จ

รัฐบาลมีคราบของพลเรือนอยู่บ้าง

ตามสเปกอย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์วางไว้ จะพยายามลอกแบบรัฐบาลประชาธิปไตยให้มากที่สุด

แต่ปัญหาก็คือในวันที่ “บิ๊กตู่” ไม่ได้ถือดุลอำนาจกองทัพแล้ว ใครจะเป็นผู้มีอำนาจสั่งการอย่างแท้จริง ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับหัวหน้า คสช.

โอกาสเกิดภาวะ “ลักลั่น” ก็เป็นไปได้สูง

มันก็มาถึงสูตรที่สาม ตามพิมพ์เขียวที่ พล.อ.ประยุทธ์นั่งกุมบังเหียนหัวหน้า คสช.ต่อไป แล้วเปิดทางให้คนอื่นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

จุดดี “บิ๊กตู่” ก็ยังกุมอำนาจสูงสุดไว้ในกำมือ

แต่ปัญหามันก็จะมีผลกับการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ เมื่อนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ทีมงานเดียวกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นคนนอกก็อาจมีรายการเหยียบตาปลา

เสี่ยงขัดขากันเองระหว่างรัฐบาลกับ คสช.

ดังตัวอย่างที่มีให้เห็นกันไปหยกๆ ในยุคที่ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ปรากฏว่า ถึงจังหวะสำคัญๆ หัวหน้า คมช.ก็ไปทาง นายกฯกลับไปอีกทางเล่นกันคนละคีย์ แล้วก็เพี้ยนกันทั้งวง

สูตรหนึ่ง สอง สาม ตามรูปการณ์ไม่ว่าจะออกสูตรไหนก็มีทั้งประตูได้ประตูเสีย มันจึงเป็นโจทย์ยากๆที่ พล.อ.ประยุทธ์จะต้องบวกลบคูณหาร

เพื่อให้ผลออกมาเป็นคุณมากที่สุด

และพร้อมๆกับโหมดการบริหารตามฟอร์มรัฐบาลพลเรือนที่ตัดสินใจยากในการวางสถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ มันยังมีเรื่องของเครื่องมือในการบริหาร

กับกระบวนการประกาศใช้ธรรมนูญปกครองชั่วคราว

ที่ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษากฎหมายคสช.ในฐานะหัวหน้าทีมร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ได้ส่งร่างให้หัวหน้า คสช.ได้พิจารณาแล้ว

สั้นๆ กระชับ แค่ 45 มาตรา

แต่ติดปัญหาเรื่องอำนาจที่ก้ำกึ่ง คาบเกี่ยวกันระหว่าง คสช.กับรัฐบาล

โดยเฉพาะในประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับยกเครื่องปฏิรูปประเทศไทย

ที่แน่ๆ คสช.มองว่า ไม่มีความจำเป็น

และยังมีประเด็นการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารที่ติดติ่งห้อยท้ายไว้ตามฟอร์ม

ตามสถานการณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์และทีมงาน คสช.ชุดใหญ่ต้องร่วมประชุมกับนายวิษณุ ตีกลับให้พิจารณาในบางประเด็นเพื่อให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม

นั่นก็เพราะความสำคัญของธรรมนูญการปกครองชั่วคราวจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่เป้าหมาย ตามโจทย์การบ้านของการยึดอำนาจการปกครองโดย คสช.

เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกำหนดที่ คสช.ล็อกไว้จะมีการทูลเกล้าฯธรรมนูญการปกครองชั่วคราว เพื่อประกาศใช้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้

เป็นไปตามโรดแม็ปที่วางกันไว้

ทั้งหมดทั้งปวง เป็นอะไรที่เข้าใจได้ถึงสถานการณ์ในห้วงเปลี่ยนผ่านอำนาจพิเศษ พล.อ.ประยุทธ์อยู่ในภาวะตัดสินใจยากลำบาก

เพราะต้องยึดเอาความผิดพลาดยุค คมช.ของพล.อ.สนธิ มาเป็นบทเรียน

กับผลงาน “ปฏิวัติปราสาททราย”

สุดท้ายกลายเป็นแพะรับบาป

เรื่องของเรื่องการตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์นับเป็นก้าวที่ส่งผลถึงอนาคต คสช.

และต่อเนื่องถึงอนาคตประเทศไทย

ถ้าพลาดตั้งแต่ก้าวแรกก็หมายถึงเส้นทางในอนาคตส่อแววล้มเหลวไม่เป็นท่า

“อำนาจพิเศษ” ก็จะไม่สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศไทย

“ปฏิวัติ” เสียของซ้ำซาก.

“ทีมการเมือง”

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar