tisdag 15 juli 2014

" ถามตอบ กทม // เกียวโต "มาศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 กับปฏิวัติสยามประเทศไทย 1932 เส้นทางที่ยอกย้อน...แต่ก็มุ่งไปข้างหน้า






ความรู้จากวอลอาจารย์ Thamrongsak Petchlertanan ขอบคุณอาจารย์ธำรงศักดิ์และอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริที่ตอบคำถามอาจารย์ธำรงศักดิ์มาเป็นความรู้ของเราทุกคนค่ะ

……………………………………….
ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 กับปฏิวัติสยามประเทศไทย 1932 เส้นทางที่ยอกย้อน... แต่ก็มุ่งไปข้างหน้า
อาจารย์ชาญวิทย์แห่งเกียวโตเขียนมาในวัน 14 July 2014 นี้ว่า... เชิญอ่าน (อาจารย์ใช้เวลาค่อนวัน เพื่อตอบคำถามของข้าพเจ้า)..............


Q and A: From Bangkok/Yo to Kyoto/cK and vice versa

ถามตอบ กทม // เกียวโต
14 July 1789 French Revolution 225 ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก
คำถามของ อจ ตอบยากจัง ครับ
เรื่องมันยาวมากๆ และเป็น ปวศ การเมืองมากๆๆ
ครับ ปฏิวัติ/ประชาธิปไตยฝรั่งเศส ยาว ยอกย้อน ซับซ้อน มากๆ
กินเวลาเป็นร้อยปี กว่าจะจบลงได้

ถ้าจะว่าไป ก็คงเหมือนปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475/1932 นั่นแหละ ครับ
ก็ 82 ปีมาแล้ว
ต้องทนอ่าน และ อ่านทน จึงจะพอเข้าใจได้
(คำถามของ อจ ทำให้ผมต้องอ่านเยอะ ถึงตอบได้ อย่างย่อๆ)

1. ครับ ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789/2332 (ตรงกับ ร. 1) หลังปฏิวัติอเมริกา 13 ปี
เป็นเสมือนการ "ตีระฆัง" ใบใหญ่ ดังกังวาล สะท้าน ก้องไปทั่วโลก
พร้อมด้วยความคิดว่า "มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน" เหมือนๆ การปฏิวัติอเมริกา
(แต่อเมริกา ตอนนั้น ถือว่าเป็น "บ้านนอก" เป็น "ชายขอบ" หาใช่ศูนย์กลางโลกไม่)

2.  ดังนั้น ปฏิวัติ/ประชาธิปไตยฝรั่งเศส จึงเสทือนโลกมากกว่า
กระทบอังกฤษ กระทบยุโรป/เอเชีย
ระบอบ สาธารณรัฐ ความเป็น "ชาติ" nation สมัยใหม่ (มนุษย์เท่ากัน)
กลายเป็นระบอบใหม่ของโลก พร้อมๆกับการเกิด "ชาตินิยม" หรือ nationalism
ระบอบ กษัตริย์ ต้องปรับตัว ปฏิรูป
ให้จักรวรรดิ/ราชอาณาจักร มีหน้ามีตาเป็น "ชาติ/nation"
ประเทศไหนปรับได้ ระบบเก่าก็อยู่ได้ ปรับไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้
อังกฤษ และ บางประเทศในยุโรปตะวันตก
รวมทั้งเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ปรับได้ อยู่ได้
จีน รัสเซีย เยอรมนี ออสเตรีย/ฮังการี ออตโตมาน
ปรับไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ ล่มสลายไป

3.  ปวศ ปฏิวัติ/ประชาธิปไตย ฝรั่งเศส ยอกย้อนมาก
ฝ่ายสาธารณรัฐ และฝ่ายจักรวรรดิ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ
อย่างที่เรารู้จักกัน คือ ฝ่าย Republic กับ ฝ่าย Empire

4.  ดังนั้น ก็มี First Republic 1792-1804 เป็นสาธารณรัฐ หลังจากปฏิวัติ 1789
ฝ่ายกษัตริย์ตีโต้กลับ คือ เกิด First Empire เป็นจักรวรรดิ ของ นโปเลียน 1
ก็คือ Napoleon มหาราช ที่เรารู้จักกันนั่นแหละ ระหว่าง 1804-1815
นโปเลียนสถาปนาตนเป็น จักรพรรดิ จำได้ไหม แล้วก็แพ้ราบ ที่ Waterloo
Empire และระบอบกษัตริย์ ก็ล่ม
(เรื่อง "เหยื่ออธรรม" หรือ Les Miserables ก็เกิดขึ้นในช่วง
หัวเลี้ยวหัวต่อของ หลัง First Empire แต่ก่อน Second Republic
คือ 1815-1832 ที่บรรดาพระเอก/นางเอก เป็นฝ่ายซ้าย/ก้าวหน้า
แต่ก็แพ้ ครับ)

5.  ฝรั่งเศส ก็กลับไปเป็น Second Republic อีกครั้ง
สาธารณรัฐที่ 2 1848-1851 มีหลานของนโปเลียน
ซึ่งทีแรก ก็ยอมเล่นกับระบอบเลือกตั้ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีจนได้
แต่ท่านนี้ ก็ทำ "รัฐประหาร" ยึดอำนาจ
ตั้ง Second Empire 1852-1870 กลายเป็นเจ้าใหม่ วงศ์ใหม่ในแบบเก่า
นโปเลียน 3 นี่แหละ คงเคยเห็นภาพเขียน
ที่รัชกาลทีี 4 ส่งทูตไปเฝ้าที่ปารีสปี 1856 หลังทำสัญญาเบาว์ริง 1855
นโปเลียน 3 มีจักรพรรดินี ชื่อ Eugenie ว่ากันว่าเลอโฉม
เธอผู้นี้ เป็นผู้ไปเปิดคลองสุเอซ ปี 1868
แต่นโปเลียน ก็พัง
เพราะไปเปิดสงครามกับเพื่อนบ้าน
คือ เยอรมนี/ปรัสเซีย 1870-71 แถมรบแพ้อีก
เลยโดนโค่น หนีไปลี้ภัย และสิ้นชีวิตในลอนดอน

6.  ถึงตอนนี้ ฝรั่งเศสก็กลับไปเป็น Third Republic 3
สาธารณรัฐครั้งที่ 3 ปี 1871-1940 (สร้างหอไอเฟล สมัยนี้)
คืออยู่จนกระทั่งแพ้สงครามกับเยอรมนี ของ ฮิตเลอร์ ครับ

7.  สรุป ปี 1871 หรือต้นรัชกาลทีี่ 5 ของบ้านเรา
น่าจะถือได้ว่า ประชาธิปไตย และ ปฏิวัติฝรั่งเศส ลงตัว
กลับไปใช้ระบอบกษัตริย์เก่า ไม่ได้แล้ว
ถ้านับ การกลับไปกลับมา
วังวน วงเวียน ของ ปวศ จาก 1789 ถึง 1871
ก็ 82 ปี พอดี (เป็นตัวเลขที่แปลกมาก)

8.  สรุป อีกที คือ ไม่มีการปฏิวัติใด สิ้นสุด ลงตัวสมบูรณ์ในการต่อสู้เพียงครั้งเดียว
ไม่ว่าจะเป็นของอเมริกา ที่จะต้องสู้กัน จนถึงสงครามกลางเมือง สมัย Lincoln
ถึง Martin Luther King ถึงสมัย Barak Obama
ไม่ว่าจะเป็นของจีน ที่ต้องต่อสู้กับราชวงศ์ชิง สมัยของซุนยัตเซ็น
มาจนสมัยเจียงไคเช็ค และเหมาเจอตุง
เส้นทางเดิน ปวศ ของมนุษย์เป็นเช่นนี้ ครับ
และจากการศึกษา ปวศ สากล
ทำให้ผมคิดว่า กรณีของสยามประเทศไทย
ก็จะต้องมีการต่อสู้กันยาวนานมาก
โดยเฉพาะในประเด็นของ เสรีภาพ และ เสมอภาค

ผมอยากจะคิดว่า ไทยเรา ได้ "เสรีภาพทางการเมือง" มาแล้วระดับหนึ่ง
นับแต่ปฏิวัติ 2475 และปฏิวัติของนักศึกษาประชาชน 14 ตุลา 2516
แต่สถานการณ์ก็พลิกผันมาตลอด
ฝ่ายอำนาจเก่า/บารมีเก่า พยายามกลับมาอีก
ดังที่เราจะเห็นได้จาก การยึดอำนาจ
รัฐประหาร ครั้งแล้ว ครั้งเล่า จนครั้งนี้ 2557

ผมคิดว่า ประเด็นแหลมคม อยู่ที่ปัญหาของ "เสมอภาค" ครับ
หนึ่งคน หนึ่งเสียง 1 = 1 หรือ บางคนหลายเสียง
ที่เป็นอีลีต/ขั้นสูง ชาวกรุง ปริญญาชน เสนาอำมาตย์ มีคะแนนเสียงมากกว่า
มากกว่าสามัญชน ชาวบ้าน ชาวชนบท ภาคกลาง อีสาน เหนือ

การต่อสู้น่าจะเผ็ดร้อนมากๆ จะจบลงอย่างไร
สิ่งที่เราๆ ท่านๆ จะทำได้ในตอนนี้
คือ ต้องมีขันติธรรม ต้องศึกษา ติดตาม ตั้งสติ สัมปชัญญะ ให้ดี ครับ
Time and History will tell you ครับ
cK@14July2014

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar