tisdag 2 april 2013

....".ไม่ได้เป็นส.ส.ในสภา" เลยเปิดเผยเอ่ยชื่ออดีตประธานศาลฎีกา ให้พวกส.ส.ควายเหี้ยพรรคประชาธิปัตย์ได้รู้โดยไม่ผิดกฎหมาย.... พร้อมฝากด่าถึงความไร้สมรรถภาพของประธานสภา และ พวกเหี้ยส.ส.ควายพรรคฝ่ายค้านประชาธิปัตย์ที่ป่วนสภา .... คนไทยทั้งประเทศก็รู้ๆกันทั่วไปว่า " นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ "ประธานศาลฎีกาขณะนั้นนั่งร่วมประชุมวางแผนด้วยกันที่บ้านนายปีย์ มาลากุล ก่อนให้ทหารเหี้ยทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณเมื่อวันที่ ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙ โดยมี สุรยุทธ เขายายเท่ียง ปราโมทย์ นาครทรรพ นายจรัญ พันบาท และ พลเอก พัลลภ ปิ่นมณีร่วมอยู่ด้วย ซึ่งคนที่เอาหลักฐานออกมาเปิดเผยก็คือ พล. เอกพัลลภ ปิ่นมณี แต่พวกควายพรรคประชาธิปัตย์แกล้งลืมกลัวจะไปกระทบกระเทือนพวกขี่ข้าโจรกบฎที่ปกป้องผลประโยชน์และความผิดให้พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะประธานศาลฎีกา บวกกับประธานสภาก็ไร้สมรรถภาพอ่อนแอกลัวพวกเหี้ยควายขี้ข้าสมุนโจรตาบอดจนไม่กล้าวางตัวเป็นกลาง แล้วสภานี้จะเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างไร...?. เป็นการชี้ให้เห็นว่าสภาไทยไม่มีอิสระในการแก้ปัญหาประเทศชาติเพราะยังอยู่ใต้อิทธิพลของจอมโจรเผด็จการนาม " ไอ้เหี้ยสั่งฆ่า อีห่าสั่งยิง "...

วิวาทะกลางสภากรณีส.ส.สุนัยอภิปราย"ประธานศาลฎีกานั่งร่วมวางแผนรัฐประหาร49"

                   ดร สุนัย จุลพงศธร ประชุมสภา 1-4-2013

ถอดเทปวิวาทะกลางสภากรณีส.ส.สุนัยอภิปราย"ประธานศาลฎีกานั่งร่วมวางแผนรัฐประหาร49"

ส.ส.สุนัย : ..พอไปดูโครงสร้าง ปรากฎว่า ..การรัฐประหารตั้งแต่ต้น มีประธานศาลฎีกาไปนั่งวางแผนยึดอำนาจกับเขาด้วย มีเลขาประธานศาลฎีกาไปนั่งประชุมกับเขาด้วย หลังจากยึดอำนาจได้แล้วบุคคลเหล่านี้ก็เข้ามาสู่ฝ่ายการเมือง มันก็ยิ่งชัด แล้วปรากฎว่ามีคนคนหนึ่งที่เป็นศาลเป็นคนไปเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้น ก็ไหนท่านบอกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อนท่านเกลียดจัง?


ส.ส.นิพิฏฐ์ : ..ท่านผิดข้อบังคับข้อที่ 43 เป็นการกล่าวถึงบุคคลภายนอก โดยเฉพาะกล่าวถึงประธานศาลฎีกา ว่าไปนั่งอยู่แล้วก็วางแผนในการยึดอำนาจ เป็นคำโกหกที่ทำให้บุคคลภายนอกเสียหาย.. อยากให้ถอนในส่วนที่พาดพิงถึงประธานศาลฎีกาครับ

ประธานสภา : ครับ ท่านสุนัย พึงระวังการกล่าวอ้างถึงบุคคลภายนอกนะครับ ถ้าท่านจะกรุณาถอน นะครับ อย่าเอ่ยชื่อน่ะครับ
ส.ส.สุนัย : ท่านประธานครับ อะไรที่ท่านขอ ผมให้เสมอถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวนะ แต่ประวัติศาสตร์ไม่ได้ครับ คนที่กล่าวเรื่องนี้คือ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ครับ กล่าวเอ่ยชื่อชัดเจน แต่ผมจะให้เกียรติท่านผู้ประท้วงผม ไม่เอ่ยชื่อบุคคลเหล่านั้น ..พอสมควรแล้วนะฮะ

ประธานสภา : ครับ ตกลงไม่ต้องเอ่ยชื่อนะครับ
ส.ส.สุนัย : ไม่เอ่ยชื่อครับ

ส.ส.นิพิฏฐ์ : ผมคิดว่าไม่ได้หรอกครับ ประธานศาลฎีกานี่เป็นตำแหน่งสูงสุดของตุลาการนะครับ ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ระบุชื่อก็จริงนะครับ แต่ว่าท่านบอกว่า ประธานศาลฎีกาไปนั่งวางแผนอยู่ในการยึดอำนาจ การยึดอำนาจอยู่ในวันที่เท่าไหร่ครับท่านครับ แล้ววันนั้นใครเป็นประธานศาลฎีกา? มันชัดเจนอยู่แล้วครับ ต้องถอนครับท่านครับ ผมไม่อยากจะขัดท่านนะ ท่านกล่าวถึงบุคคลภายนอกแล้วท่านเสียหายครับ ต้องถอนเท่านั้นครับ

ประธานสภา : ครับท่านสุนัยครับ ยังไงก็เพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนะครับ ท่านกรุณาเถอะครับ
ส.ส.สุนัย : ผมถอนคำนั้น แต่ประวัติศาสตร์ต้องเป็นประวัติศาสตร์ครับ ผมขอใช้คำว่า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เป็นคนเปิดเผยชื่อเรื่องนี้ครับ แล้วไม่มีการฟ้องพลเอกพัลลภครับ ผมถอนประโยคนั้นไปแล้ว แต่ผมขอพูดทางประวัติศาสตร์อย่างนี้

ประธานสภา : ท่านนิพิฏฐ์ฮะ?
ส.ส.นิพิฏฐ์ : ท่านใช้คำพูดอย่างนี้นะครับ ลูกเล่นอย่างนี้ ใช้ไม่ได้หรอกครับ เอาตรงไปตรงมา ง่ายนิดเดียวครับ ผมเรียนท่านประธาน วินิจฉัยไม่ยากเลยครับ ก็เลยบอกให้ท่านต้องเป็นกลางไงครับ ส่วนที่พูดถึงบุคคลภายนอกนะครับ ต้องลบออกหมดครับ ท่านต้องเป็นกลางนะครับ ท่านเห็นชัดอยู่แล้ว

ประธานสภา : ท่านสุนัย เอ่ยชื่อบุคคลภายนอก งดเลยนะครับ เพราะฉะนั้นท่านถอนเลยนะครับ
ส.ส.สุนัย : ผมขอยืนยัน ตามที่ท่านว่า ผมขอถอนประโยคเก่าไป ผมไม่ได้ลูกเล่นครับ ท่านนิพิฏฐ์ครับ ท่านจะทรยศต่อประวัติศาสตร์หรอครับ?

ประธานสภา : ท่านสุนัยครับ คือท่านถอนคำพูดไปหมดนะครับ ประวัติศาสตร์เป็นยังไงก็จะเป็นอย่างนั้นนะครับ ท่านถอนนะครับ ท่านอย่าได้เอ่ยถึงอีกเลย เพื่อการประชุมจะได้เดินไปได้ครับ

ส.ส.สุนัย : เอานะครับ โอเคนะฮะ ..ยังมีศาลอีกสามท่านครับ..
ส.ส.นิพิฏฐ์ : ท่านต้องถอนครับ มันจะได้เดินไปได้ครับ
ประธานสภา : เอ้าท่านนิพิฏฐ์นั่งลง ท่านสุนัยครับ ที่ท่านกล่าวถึงบุคคลภายนอกที่ผู้พิพากษาไปนั่งร่วมอะไร ท่านถอนออก

ส.ส.สุนัย : ตามข้อบังคับ ไม่กล่าวถึงโดยไม่จำเป็น กล่าวถึงโดยที่จำเป็นต้องกล่าวถึงนะครับ และผมไม่ได้ระบุชื่อ ผมรับผิดชอบเองครับ ฟ้องผมได้ครับ

ส.ส.นิพิฏฐ์ : ท่านประธานครับ ไม่ใช่ว่ารับผิดชอบฟ้องได้นะครับ คำกล่าวที่ละเมิดต่อบุคคลภายนอกเสียดสีทำให้เค้าเสียหายเนี่ย ตามข้อบังคับบอกว่าต้องถอนนะครับ

ส.ส.สุนัย : ใครเสียหายล่ะท่าน? คุณนิพิฏฐ์เสียหายเร๊อะ ?

ประธานสภา : เอาอย่างนี้นะครับ อย่าโต้เถียงกันเลยครับ ท่านสุนัยครับ ขอเถอะครับ ท่านอย่าไปกล่าวถึง..
ส.ส.สุนัย : ถอนคำไหนล่ะครับ ถอนคำไหนครับ?
ส.ส.นิพิฏฐ์ : คือจริงๆท่านไม่น่าความจำเสื่อมนะครับ ท่านพูดมาไม่นานเอง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประธานศาลฎีกาต้องถอนทั้งหมดครับ สั้นๆครับ

ประธานสภา : ท่านสุนัยอย่าได้เอ่ยชื่อถึงบุคคลภายนอกโดยไม่จำเป็นนะครับ
ส.ส.สุนัย : ผมไม่ได้เอ่ยชื่อใครครับ!
ประธานสภา : เมื่อมีผู้ประท้วง เพื่อความสงบ เพื่อให้การประชุมเดินหน้าต่อไป ท่าน กรุณาเถอะครับ ท่านสุนัยครับ ถอนไปเถอะครับท่านสุนัยครับ

ส.ส.สุนัย : ผมก็เพิ่งรู้นะครับว่ามันไปกระทบอะไรพรรคของท่านหรอ?
ส.ส.นิพิฏฐ์ : มันไม่เกี่ยวกับพรรคหรอกครับ มันผิดข้อบังคับ
ส.ส.สุนัย : เค้าไปคุ้มครองพรรคท่านหรือไงพวกนี้ ?
ส.ส.นิพิฏฐ์ : อันนี้ต้องถอนอีกแล้วครับ ไร้สาระมากเลยครับอย่างงี้ มันไม่เกี่ยวกับพรรค...

ส.ส.จ่าประสิทธิ์ : ทั่นประธานขรั่บ..
ประธานสภา : จ่าประสิทธิ์ไม่ต้องหรอกครับ..

ส.ส.นิพิฏฐ์ : ท่านประธานต้องเด็ดขาดสิครับ เนี่ยเลยบอกว่าท่านประธานต้องเป็นกลางครับ
ประธานสภา : ท่านสุนัยครับ ท่านลบคำพูดท่านประโยคนั้นออกซะ แล้วท่านพูดประโยคอื่นแทน นะครับ

จากนั้น ส.ส.สุนัย ท้า ส.ส.นิพิฐฏ์ จะถอนให้ แต่ต้องเลิกประท้วงประธานสภาว่าไม่เป็นกลางอีก ส.ส.นิะพิฐฏ์ไม่รับคำท้า ส.ส.สุนัยกล่าวว่าไม่ได้ทำผิดข้อบังคับ เพราะไม่ได้เอ่ยชื่อใคร ถ้าบอกว่าผิดนี่สู้กันตายเลย ยืนยันว่าไม่ผิดข้อบังคับ

ประธานสภา : ไม่หรอกครับ เพียงแต่ว่า ตามกฎข้อ 43 ว่า เอ่ออ..
ส.ส.สุนัย : ผมไม่ได้เอ่ยชื่อใคร!
ประธานสภา : ..โดยที่ไม่จำเป็นนะครับ.. นี่เขาบอกว่าจำเป็นเพราะว่าประวัติศาสตร์ แต่ว่า"เพื่อความสงบนะครับ ไอ่คำประวัติศาสตร์นี่เราก็ลบออกซะ" นะครับ เมื่อเขาลบออกแล้ว ท่านก็ไม่ต้องนะครับ เชิญนั่งนะครับ

ส.ส.สุนัย : แหม๋ทีเอ่ยถึงหัวหน้าพรรคที่ผมรัก "ทักษิณ"เนี่ยนะ เอ่ยกันได้ทั้งวันทั้งคืน นี่ผมไม่ได้ไปเอ่ยอะไรชื่อพรรคเกี่ยวกับพรรคท่านเลย...


จากนั้นจึงเริ่มเกิดความวุ่นวายขึ้นในสภา จากส.ส.ฝั่งประชาธิปัตย์ ประท้วงประธานสภาเรื่องร่วมลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญ แทนการประท้วงส.ส.สุนัย

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar